หลักสูตรเริ่มต้นทำงาน

หลักสูตรเริ่มต้นทำงาน สำหรับงานทั่วไป ผู้ที่กำลังหางาน หรือจะเรียนต่อโท

ราคาพิเศษลด 50 %
สมาชิกตลอดชีพ

เรื่องรีบรู้เพื่อพร้อมใช้ Excel ทำงานแบบ Fast and Easy

เรียนรู้สูตรที่จำเป็น เช่น VLookup หรือ Pivot Table เพื่อเตรียมพร้อมใช้ Excel ทำงาน หรือเรียนต่อโท
  • 36 บทเรียน
  • วิดีโอ 45 ตอน ยาว 6:31 ชั่วโมง
  • ราคาปกติ 1,250 บาท
625 บาท

บนเส้นทางลัด Pivot Table สู่การสร้าง Dashboards

สำหรับเริ่มต้นทำงาน เตรียมตัวสมัครงาน เพื่อสร้างรายงานขั้นต้น เรียนต่อระดับปริญญาโท
  • 29 บทเรียน
  • วิดีโอ 30 ตอน ยาว 4:11 ชั่วโมง
  • ราคาปกติ 1,250 บาท
625 บาท

Not Me ผมไม่เกี่ยวนะครับ

ผมไม่เกี่ยวนะครับ
.
วันนี้ลองค้นหาในกูกเกิลโดยใช้คำว่า Excel Expert Training เจอโฆษณาตามภาพ จึงขอเรียนให้ทราบว่าผมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโฆษณาและสถาบันที่สอน Excel นี้แต่อย่างใดนะครับ

.
ก่อนโน้น ลูกศิษย์โทรมาถามว่าผมไปสอนที่นั่นที่นี่ด้วยเหรอ เห็นที่สถาบันนั้นเขียนไว้ในเว็บใส่ชื่ออาจารย์สมเกียรติไว้ด้วย
.
ผมเข้าไปดูในเว็บพบชื่อของผมจริงดังว่า แถมยังมีชื่อคนอื่นที่ช่วยตอบปัญหาในฟอรัมใส่ไว้ด้วย
.
ผมโทรไปที่สถาบันนี้ ถามว่าอาจารย์สมเกียรติ สอนอยู่ที่นั่นใช่ไหมครับ … ใช่ค่ะ
.
พอผมบอกว่า ผมนี่แหละอาจารย์สมเกียรติ เจ้าหน้าที่ที่รับสายก็รีบบอกว่า เป็นคนละสมเกียรติกันแล้ววางสายไปเลย
.
ผมโทรไปอีกครั้ง คราวนี้ขอพูดกับผู้จัดการหน่อย ถามว่าทำไมจึงเอาชื่อของผมไปแสดงไว้ในเว็บว่าผมสอนอยู่ที่สถาบันของคุณด้วย
.
ผู้จัดการตอบว่า “อาจารย์จำไม่ได้เหรอครับ ผมเคยโทรมาเรียนเชิญอาจารย์มาสอน แต่อาจารย์ไม่ว่าง อาจารย์เลยแนะนำอาจารย์ท่านอื่นมาสอนแทน
ผมนึกว่าอาจารย์อนุญาตให้ใช้ชื่ออาจารย์ได้แล้ว”
.
ผมตอบไปว่า “ที่คุณพูดมาเนี่ย มันคนละเรื่องกัน ผมไม่ได้อนุญาตให้เอาชื่อของผมไปใช้ ชื่อเพื่อนๆที่อยู่ในฟอรัมก็ไม่ควรเอาไปโฆษณาด้วยถ้าเจ้าตัวเขาไม่อนุญาต”
.
จากนั้นผมก็โทรไปถามเพื่อนที่ผมแนะนำให้ไปสอนที่นี่แทนว่าเป็นยังไงบ้าง
.
เพื่อนเล่าให้ฟังว่า เขาเข้าไปแนะนำตัวและเอาแฟ้มคู่มือไปให้เตรียมการสอน แต่สถาบันนี้ไม่ยอมโทรมาตามเขาไปสอนเสียที
.
แต่สุดท้ายก็ได้ไปสอน สถาบันนี้ลอกหลักสูตรกับคู่มือไปจัดสอนเฉยเลย แต่พอเปิดสอนผู้เข้าอบรมในห้องร้องเรียนขึ้นมาว่า ทำไมอาจารย์มีความรู้น้อยกว่าคนที่เข้าเรียนอีก พอถูกโวยเยอะๆเลยโทรตามเพื่อนของผมไปสอนแทนอาจารย์คนนั้น
.
เรื่องยังไม่จบครับ กว่าจะได้รับเงินค่าสอนก็ต้องรอแล้วรออีก และไม่ได้รับเต็มจำนวนตามที่ตกลงไว้ ถูกหักส่วนแบ่งให้กับผู้ช่วยวิทยากรไปเสียอีก
.
เรื่องคุณภาพการสอนแบบนี้ผมได้ฟังมาอีกเยอะครับ เนื่องจากผมเปิดสอนที่บ้านกลุ่มเล็กไม่เกิน 6 คน ช่วงพักช่วงเที่ยงได้ฟังประสบการณ์จากลูกศิษย์แต่ละคนที่แชร์ให้ฟัง ไปเรียนที่นั่นที่นี่เป็นยังไงกันบ้าง เปรียบเทียบกับที่ผมสอนแล้วรู้สึกยังไงกันบ้างเมื่อเทียบกับที่อื่น
.
ว่าไปแล้ว คิดถึงการสอนที่บ้านผมจัง ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้เรียนกันแบบนั้นอีกหนอ

วิธีเรียนเพื่อใช้แก้ปัญหา ไม่ใช่เรียนเพื่อจำ

เร็วๆนี้มีคอมเมนท์มาว่า แค่เนื้อหาที่ผมทำแจกไว้ก้อจำไม่ไหวแล้ว หลักสูตรพื้นฐานยังจำไม่หมดเลย พอเจอ 4 หลักสูตรตามภาพด้านล่างนี้ รวมกับอีก 6 หลักสูตรที่เปิดให้สมัคร ฟรี หน่วยความจำในสมองเริ่ม full กันแล้วหรือเปล่าครับ

ผมตอบกลับไปว่า

“พอทำงานมากขึ้น หน้าที่และความรับผิดชอบจะผลักดันให้พยายามขวนขวายเรียนไปเองครับ

ไม่แนะนำให้เรียนเพื่อจำ แต่เรียนเพื่อรู้ว่ามีวิธีที่ใช้ Excel มาช่วยทำงานได้ครับ”

แนะนำให้เปิดดูวิดีโอไปเรื่อยๆ โดยยังไม่ต้องทำตาม เพื่อทราบไว้ก่อนว่าปัญหาแบบนี้มีทางแก้ได้น้ะ

**********

อาจารย์สมเกียรติเคยทำให้ดูไว้แล้วว่าทำยังไง ส่วนคุณเองยังทำไม่ได้และยังไม่ต้องทำ ยังไม่ต้องไปจำด้วยครับ พอนานไปก็ลืมแล้วล่ะว่าทำยังไง

ขอให้ตั้งหลักในการเรียนออนไลน์ไว้ก่อนว่า ปัญหาแบบนี้อาจารย์เคยทำให้ดู จากนั้นเมื่อเจอปัญหาในการทำงานจึงค่อยย้อนกลับมาเปิดวิดีโอและทดลองทำตาม

**********

นี่ยังดีนะครับเพราะการเรียนผ่านวิดีโอ จะช่วยให้เปิดดูย้อนหลังเพื่อทบทวนอีกกี่ครั้งก็ได้ตามสบาย

ส่วนการเรียนในห้องที่มาเข้าอบรมกันแบบยุคก่อนโควิดนั้น ก่อนจะเริ่มเรียน ผมจะแจ้งวิธีการเรียน ให้ทุกคนลองทำตามโดยไม่ต้องจด เพราะผมได้ทำคู่มือที่มีเนื้อหาละเอียดแบบถอดเทปเตรียมไว้ให้แล้ว พอกลับบ้านไปขอให้ทบทวนโดยอ่านจากคู่มือ

พอมาสอนออนไลน์ ตอนนี้ผมทำวิดีโอไว้ยาวเหยียด มีเนื้อหามากกว่าที่สอนในห้องเรียน เพราะสอนได้เต็มที่ไม่ต้องห่วงว่าต้องรีบสอนให้ครบทุกหัวข้อ และไม่ต้องเสียเวลารอให้ทำตัวอย่างตามเสร็จพร้อมกันก่อนแล้วจึงเริ่มสอนหัวข้อถัดไป

ขอให้เรียนออนไลน์แบบให้ผ่านหูผ่านตาไว้ก่อนครับ ไม่ต้องไปจำ

เรื่องอะไรที่ใช้บ่อยๆและต้องใช้ประจำ จะจำขึ้นใจไปเอง

***********

ส่วน 4 หลักสูตรตามภาพนี้ เชิญลงทะเบียนสมัครได้โดยคลิกที่นี่หรือคลิกที่ภาพได้เลยครับ

วิธี Download Certificate

ผมเตรียมใบเกียรติบัตรสำหรับลูกศิษย์ทุกคนที่ตั้งใจเรียนออนไลน์ครบทุกบทเรียน แล้วจะสามารถ download เป็นแฟ้ม pdf ของแต่ละหลักสูตร ไปพิมพ์อวดหัวหน้าหรือใช้สมัครงาน

บนกระดาษใบน้อยๆนี้ มีคำว่า Excel Expert Training ชื่อนี้สื่อถึงคุณภาพ จะช่วยให้ลูกศิษย์ทุกคนที่ได้รับใบ Certificate มีความได้เปรียบ มั่นใจในการสมัครงานมากกว่าคนอื่น สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานมากขึ้น

ข้อมูลบนหน้าใบ Certificate นี้ ระบบการเรียนออนไลน์บนเว็บ จะนำชื่อนามสกุลภาษาอังกฤษที่คุณลงทะเบียนไว้มาแสดงพร้อมกับชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ ขอให้ login ก่อนแล้วไปตรวจสอบข้อมูลชื่อนามสกุลของคุณได้ที่เมนูห้องเรียน > โปรไฟล์ของฉัน (จะเห็นเมนูเมื่อ login)

เมื่อเข้าเรียนหลักสูตรใด พอชมวิดีโอและอ่านเนื้อหาในแต่ละบทจนเข้าใจแล้ว ขอให้คลิกที่ ปุ่มเรียนแล้ว
คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขยาย

เมื่อจบบทเรียนใด ให้คลิกที่ปุ่มเรียนแล้ว สีม่วง เพื่อไปเข้าเรียนบทต่อไป

เมื่อเรียนครบทุกบทเรียน ปุ่มสำหรับ download ใบเกียรติบัตรนี้จะปรากฏให้เห็นทันที

พอเรียนครบทั้งหมดแล้วจะแสดงหน้า Congrats ขึ้นมาให้เห็น โปรดคลิกที่ปุ่ม Print Certificate เพื่อ download แฟ้ม PDF
หลักสูตรที่เรียนครบแล้วจะแสดงปุ่ม Download Certificate ให้เห็นในหน้าแรกของหลักสูตร

เคล็ดลับวิธีป้องกันแฟ้มสุดหวง

จุ๊ จุ๊ เรื่องนี้ต้องกระซิบบอกกันค่อยๆครับ

เห็นถามในกลุ่มคนรัก Excel ถึงวิธีป้องกันไม่ให้ลอกสูตรไปใช้ ต่อให้สั่ง Protect Sheet / Protect Workbook ก็ยังถอดรหัสแกะแฟ้มได้อยู่ดี

วิธีแบบที่ไม่มีในตำราอยู่ในหลักสูตรสุดยอดเคล็ดลับและลัดของ Excel กับ หลักสูตรฉลาดใช้สารพัดสูตรอย่างมืออาชีพครับ เป็นหลักสูตรใหม่เอี่ยม ตอนนี้ราคาพิเศษ

ดูรายละเอียดที่
https://www.excelexperttraining.com/online/promotion-1250/

ต่อให้ยกแฟ้มไปให้ก็ยังใช้ไม่ได้ครับ ไม่ต้อง Protect อะไรแบบที่ทราบกัน เป็นวิธีที่ผมใช้ของผมเองสมัยก่อนที่จะมาเป็นอาจารย์ แฟ้มที่ผมสร้างขึ้นกว่าจะคิดออกมาได้นั้นต้องเสียเวลาคิดแล้วคิดอีก จะยอมให้คนอื่นเอาไปใช้ง่ายๆได้ยังไง

เรื่องนี้ยังเกี่ยวข้องกับความลับของบริษัท แฟ้มที่ทำไว้ต้องหาทางป้องกันไม่ให้คนนอกเอาไปใช้งานต่อ

ถ้าใครแอบเอาแฟ้มของผมไปใช้ มีวิธีจับขโมย ทำให้คนที่แอบลอกแฟ้มไปใช้เสียชื่อเสียง หมดความเชื่อถือในสังคมไปเลย … จะบอกให้

วิธีการใช้ List in List

ตัวอย่างการใช้ Data Validation แบบ List
เมื่อคลิกเลือกจังหวัด จะได้ชื่อเขตหรืออำเภอมาให้เลือก
เมื่อคลิกเลือกชื่อเขต จะได้ชื่อแขวงหรือตำบลมาให้เลือก

Download ตัวอย่างได้จาก
https://www.excelexperttraining.com/download/DistrictList.xlsb

เคล็ดของวิธีการที่ใช้มาจากการสร้างตารางฐานข้อมูลให้ใช้สูตรค้นหาต่อได้ง่าย

ในช่องชื่อจังหวัด ทำได้ไม่ยาก เพียงลิงก์ชื่อ Range Name ที่เก็บชื่อจังหวัดทั้งหมดมาใช้

พอคลิกเลือกชื่อจังหวัด จะได้พื้นที่เก็บชื่อเขตมาแสดงโดยใช้สูตร
District =OFFSET(Ref,Data01!$A$3,1,1,Data01!$A$4)
โดย
Data01!$A$3 ใช้สูตร Match หาตำแหน่งรายการของจังหวัดที่เลือก
Data01!$A$4 ใช้สูตร CountA เพื่อนับจำนวนเขต

พอคลิกเลือกชื่อเขต จะได้พื้นที่เก็บชื่อแขวงมาแสดงโดยใช้สูตร
SubDistrict =OFFSET(Ref2nd,Data01!$BC$3,1,1,Data01!$BC$4)
โดย
Data01!$BC$3 ใช้สูตร Match หาตำแหน่งรายการของเขตที่เลือก
Data01!$BC$4 ใช้สูตร CountA เพื่อนับจำนวนแขวง

ที่พิเศษหน่อย พอคลิกเปลี่ยนจังหวัด จะใช้ Conditional Format ซ่อนชื่อเขตและแขวงที่ไม่ได้อยู่ในจังหวัดนั้น

ตัวอย่างนี้ได้ข้อมูลที่รวบรวมไว้ของคุณ Manothai Wongsala จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

วิธีใช้สูตร Offset อยู่ในบทเรียนหลักสูตรจับประเด็นสูตรติดไม้ติดมือ และหลักสูตรเคล็ดการเพิ่มผลงาน ลดความซับซ้อนของงานด้วย Excel VBA-Macro ซึ่งเปิดรับสมัครเรียนออนไลน์ ฟรี เชิญสมัครได้จาก

https://www.excelexperttraining.com/online/free-excel-expert-training-videos/

เชิญชมวิธีการอื่นๆได้จาก
https://www.excelexperttraining.com/online/list-in-list/

วิธีสมัครเรียนออนไลน์แบบกลุ่ม

ในกรณีที่บริษัทต้องการส่งพนักงานสมัครเข้าเรียนออนไลน์แบบกลุ่มตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยบริษัทที่ทำงานออกเงินค่าเรียนให้ และจะได้รับใบเสร็จรับเงินในยอดรวมที่ออกในนามบริษัท ขอเรียนเสนอขั้นตอนดังนี้

  1. ในการทำใบเสนอราคา ขอให้บริษัทอีเมลติดต่อแจ้งชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขผู้เสียภาษีของบริษัท ชื่อหลักสูตรและระยะเวลาสมาชิกที่ต้องการ พร้อมให้รายละเอียดจำนวนคนที่ต้องการสมัครเรียน มาให้ผมทราบตามอีเมลที่แจ้งไว้ด้านล่างของหน้านี้
  2. ผมจะจัดทำใบเสนอราคา รายละเอียดหมายเลขบัญชีธนาคารเพื่อโอนเงิน พร้อมหลักฐานทางการเงินอื่นๆตามที่บริษัทต้องการ ส่งทางอีเมลไปให้
  3. ระหว่างนี้ขอให้พนักงานที่ต้องการเข้าเรียนออนไลน์ ลงทะเบียนสมัครเรียนหลักสูตร ฟรี ไว้ก่อน เพื่อให้คุ้นเคยกับระบบการเข้าเรียน และจะได้ชื่อ Username ซึ่งจะนำมาใช้ในการเปิดระบบการสมัครแบบกลุ่ม
  4. บริษัทโอนเงินค่าสมัครเรียนออนไลน์ ส่งหลักฐานการโอนเงิน พร้อมแจ้งรายชื่อพนักงาน ชื่อ Username และอีเมลของผู้สมัครทุกคนมาแจ้งให้ผมทราบ
  5. ผมจะจัดส่งใบเสร็จรับเงินไปให้ พร้อมเปิดระบบรับพนักงานเข้าเรียนตาม Username หรืออีเมลของพนักงานที่แจ้งมา

หมายเหตุ

  • ปกติการสมัครเรียนออนไลน์ของแต่ละคนจะได้รับใบเสนอราคาและใบเสร็จรับเงินที่ออกให้อัตโนมัติจากระบบการสมัครเรียนอยู่แล้ว การสมัครแบบกลุ่มเป็นเพียงวิธีการช่วยในการรวมเอกสารให้ออกเพียงฉบับเดียวในยอดรวมเท่านั้นซึ่งผมต้องจัดทำเป็นพิเศษให้เอง หากสมัครเรียนไม่ถึง 10 คน แนะนำให้สมัครเรียนแต่ละคนเอง
  • เชิญลงทะเบียนสมัครเรียนออนไลน์ ฟรี 4 หลักสูตรได้ที่ https://www.excelexperttraining.com/online/register/free-member/
  • การซื้อคอร์สเรียนออนไลน์นี้ เข้าข่ายเป็นการซื้อของและเป็นการจ่ายเงินให้กับผู้รับเงินในนามบุคคลธรรมดาซึ่งไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
  • ใบเสร็จรับเงินจะออกในนามผู้รับเงินที่เป็นบุคคลธรรมดา ในชื่อของผมพร้อมมีสำเนาบัตรประชาชนแนบถูกต้องตามกฎหมาย (เนื่องจากเป็นการรับเงินในนามบุคคลธรรมดา จึงไม่มีใบกำกับภาษีและไม่มี VAT)
  • แม้บริษัทเป็นผู้จ่ายเงินค่าเรียน แต่สิทธิการเข้าเรียนออนไลน์ยังคงเป็นของผู้ที่ลงทะเบียนสมัครไว้ แต่ละคนสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ้ค หรือมือถือเข้าเรียนพร้อมกันได้สูงสุด 3 เครื่องในเวลาเดียวกัน
  • โปรดศึกษาเงื่อนไขการเข้าเรียนออนไลน์ได้จาก https://www.excelexperttraining.com/online/term-of-service/
  • บริษัทสามารถติดตามความก้าวหน้าในการเรียนได้จากหน้าห้องเรียนและความก้าวหน้าของฉันของพนักงานแต่ละคน ซึ่งแสดงเปอร์เซนต์ของการเข้าเรียนให้เห็นว่าได้เรียนผ่านไปแล้วกี่บท
  • เชิญติดต่อผมได้ที่ โทร 097-140-5555 หรืออีเมล Excel@ExcelExpertTraining.com โดยขอให้ใช้อีเมลเป็นหลักเพื่อเป็นหลักฐานในการติดต่อ

ขอบคุณครับ

สมเกียรติ ฟุ้งเกียรติ
Excel Expert Training

วิธีทำให้พื้นที่ตารางใหญ่ๆกระโดดมาใส่ลงไปในสูตร VLookup ให้เอง

คุณไม่ต้องเสียเวลาเอื้อมไปหาตารางว่าอยู่ในแฟ้มนั้นชีทนี้แล้วคลิกเลือกตารางพื้นที่ว่าอยู่ตรงไหน

เมื่อใดก็ตามที่คุณต้องใช้พื้นที่ตารางเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก แนะนำให้ตั้งชื่อ Range Name ให้กับพื้นที่ตารางนั้น โดยเผื่อขนาดพื้นที่ไว้เล็กน้อยสำหรับสั่ง Insert Row เพิ่มเมื่อต้องการบันทึกรายการเพิ่มเติม

เมื่อตั้งชื่อ Range Name แล้ว ให้กดปุ่ม F3 แล้วชื่อที่ตั้งไว้จะแสดงขึ้นมาให้คุณจับมาใส่ในสูตรให้ในพริบตา

Download ตัวอย่างได้จาก
https://www.excelexperttraining.com/download/RangeNameBenefit2021.xlsb

ศึกษาวิดีโอ 9 ตอนแสดงวิธีตั้งชื่อ ใช้ชื่อ และทำให้ชื่อขยายตัวตามรายการโดยอัตโนมัติได้จาก
https://www.excelexperttraining.com/online/name-tips-collection/

การอ้างอิงทั้งแนว column/row ไม่ดียังไง

มองออกไหมครับว่าสูตร VLookup 3 แบบนี้ ดีหรือไม่ดีอย่างไร (โดยเฉพาะแบบที่ 2)

แบบที่ 1 =VLOOKUP(F3, B3:D7, 2, 0)
แบบที่ 2 =VLOOKUP(F3, B:D, 2, 0)
แบบที่ 3 =VLOOKUP(F3, MyData, 2, 0)

ทั้ง 3 แบบสามารถใช้หาคำตอบเดียวกันว่ารหัส a002 มีชื่อว่า b โดยมีโครงสร้างสูตรตามนี้

=VLOOKUP(ค่าที่ใช้หา, พื้นที่ตารางที่เก็บ, เลขที่คอลัมภ์คำตอบ, ไม่เรียง)

F3 คือ ค่าที่ใช้หา
B3:D7 คือ พื้นที่ตารางที่เก็บ
2 คือ เลขที่คอลัมภ์คำตอบ
0 คือ ไม่เรียง ข้อมูลที่ใช้หาไม่ต้องเรียงลำดับ

ส่วนที่ต่างกันของ 3 แบบนี้คือส่วนของพื้นที่ตารางที่ใช้เก็บ จะใช้ B3:D7 หรือ B:D หรือ MyData

ไม่ว่าในสูตรใดก็ตาม เมื่อใดที่เห็นตำแหน่งอ้างอิงแบบ reference แสดงในสูตร เช่น B3:D7 หรือ B:D นั่นแสดงว่า คนที่สร้างสูตรต้องใช้เมาส์คลิกลงไปในตารางเพื่อนำพื้นที่มาใส่ลงไปในวงเล็บของสูตร เรียกว่า คนต้องเป็นฝ่ายหาพื้นที่ (หรือต้องพิมพ์ตำแหน่งเซลล์ลงไปเอง)

แต่ถ้าเห็นตำแหน่งอ้างอิงที่เป็น Range Name เช่น MyData แสดงว่าตอนที่สร้างสูตรนี้เขาสามารถสั่งให้นำพื้นที่มาใส่ในสูตรโดยไม่ต้องคลิกหาเอง (เรื่องนี้ขอติดไว้ก่อนว่าทำได้ยังไง)

หากใช้วิธีการคลิกเพื่อนำตำแหน่ง B3:D7 มาใช้ในสูตร ถ้าตารางมีขนาดใหญ่มากๆหลายสิบ column หลายร้อย row จะคลิกหาพื้นที่ได้ยากมากเว้นแต่จะฝึกใช้แป้นพิมพ์ช่วยเลือกพื้นที่เป็นมาก่อน ซึ่งมักพบว่าหันไปสร้างสูตร แบบ B:D แทนกันเพราะง่ายดี แค่คลิกเลือก column ทั้งแนวลงไปเลย

วิธีการคลิกเลือก column ทั้งแนวนี่แหละครับกลายเป็นวิธีการที่นิยมใช้กันไปแล้ว ดูจากคลิป คนนั้นคนนี้ทำยูทูปก็แนะนำให้ใช้แบบนี้กัน ไม่น่าเชื่อว่าขนาดคนที่เป็นอาจารย์หรือวิทยากรบางคนยังสอนแบบนี้ด้วย

แบบ B:D แน่นอนว่าสร้างง่ายเพราะคลิกเลือกที่ column ได้ง่ายสะดวกดี แถมไม่ต้องห่วงว่าเมื่อมีรายการเพิ่มขึ้นจะต้องตามไปแก้พื้นที่ตารางในสูตรให้ขยายตาม

แต่ทราบไหมว่า การกำหนดตำแหน่งอ้างอิงไว้แบบทั้งแนว ไม่ว่าจะทั้งแนว column หรือ row ก็ตาม เป็นการสร้างกรงขังตัวเองไว้ไม่ให้กระดุกกระดิกไปไหน

หากจะย้ายตำแหน่งตารางข้อมูล ต้องย้ายไปทั้งกรงคือ move ทั้งแนว column ตามไปด้วย ห้ามย้ายเฉพาะพื้นที่ตารางข้อมูล เพราะตัวสูตรได้อ้างอิงไว้กับเสากรงขัง และห้ามเอาพื้นที่นอกตารางในแนว column ไปใช้กับงานอื่น เว้นแต่จะย้ายตามไปด้วยกันตลอดไป

นอกจากนี้จะส่งผลทำให้แฟ้มใหญ่ขึ้นเกินควรและสูตรคำนวณช้าลงเมื่อมีการนำพื้นที่ตารางว่างๆด้านล่างไปใช้งาน หรือทำให้สูตรหาคำตอบผิดพลาดได้ทันที เมื่อกรอกข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องลงไป

เรื่องนี้น่าห่วงมากเพราะผู้ใช้ Excel ที่ไม่เก่ง ไม่เคยเรียนการใช้ Excel อย่างมีหลักการ ไม่เคยทราบวิธีที่ถูกต้องมาก่อน ย่อมไม่ทราบว่าของจริงที่ดีกว่าเป็นยังไง ยิ่งยุคนี้มีการเรียนทางออนไลน์กันมากขึ้น มีคลิปวิดีโอสร้างขึ้นมาให้ดูกันเยอะแยะไปหมด

วิธีจัดการกับพื้นที่ขนาดใหญ่

ยุคนี้ชอบพูดกันถึง Big Data แล้วคุณจัดการกับตาราง Biggggg เป็นหรือยัง

เม้าส์เหมาะกับการใช้เลือกพื้นที่เล็กๆบนหน้าจอ แต่แพ้พื้นที่ตารางขนาดใหญ่ ต้องหันไปใช้แป้นลัดช่วยในการเลือกพื้นที่

  • ปุ่ม Ctrl แปลว่า ซ้ำ
  • ปุ่ม Shift แปลว่า ตรึง
  • ปุ่ม End แปลว่า สุด
  • ปุ่มเครื่องหมาย จุด . แปลว่า ถึง
  • ปุ่มเครื่องหมาย * แปลว่า อะไรก็ได้

เรื่องนี้เป็นบทเรียนสำคัญที่ขาดไม่ได้ ทุกคนที่ใช้ Excel ต้องผ่านด่านนี้จึงจะสามารถทำงานร่วมกับตารางพื้นที่ขนาดใหญ่ได้ง่ายขึ้นมาก

วิธีสร้างสูตรลิงก์ข้ามชีทหรือข้ามแฟ้ม


วิธีแรก การสร้างไม่ได้ต่างจากการสร้างสูตรลิงก์ในชีทเดียวกันแม้แต่น้อย ต่างกันที่ความกล้าของคุณเท่านั้น

วิธีที่ 2 ให้สร้างสูตรให้เสร็จในชีทเดียวกันไว้ก่อนแล้วสั่ง Cut เซลลฺ์สูตรนั้นไปวางที่ชีทอื่นหรือแฟ้มอื่นที่ต้องการ Excel จะปรับโครงสร้างสูตรแทรกชื่อชีทชื่อแฟ้มให้เอง

วิธีที่ 3 กรณีอยากจะลิงก์พื้นที่ตารางไปใช้ ให้สั่ง Copy ธรรมดาที่คุณใช้แล้วไปที่ชีทปลายทางหรือแฟ้มปลายทางแล้วสั่ง Paste Link

ถ้าอยากจะตรวจสอบการลิงก์ว่ามาจากไหน ให้ดับเบิลคลิกที่เซลล์สูตร จะพบว่า Excel กระโดดไปพื้นที่ตารางต้นทางให้เองทันที แต่วิธีการนี้เครื่องของพวกคุณทำไม่ได้อย่างที่ผมทำได้หรอก

เพราะอะไร เชิญหาคำตอบได้จากวิดีโอนี้ครับ

วิธีการเหล่านี้เป็นเนื้อหาในหลักสูตรเรื่องรีบรู้เพื่อพร้อมใช้ Excel ทำงานแบบ Fast and Easy กับ หลักสูตรสุดยอดเคล็ดลับและลัดของ Excel เป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนต้องทำให้เป็นและทุกคนสามารถเข้าเรียนใน 2 หลักสูตรนี้ได้เลยครับ

อาจารย์สอนเป็นยังไง เก่งไหม

“อาจารย์สมเกียรติ ฟุ้งเกียรติ สอนเป็นยังไง เก่งไหม”

เพื่อนของภรรยา ถามแบบนี้พอเห็นค่าอบรมออนไลน์ที่ผมตั้งไว้ ราคาถูก มากๆ อะไรกัน 4 หลักสูตร วิดีโอยาวเหยียด ราคาพันนิดๆ หลักสูตรของคนอื่นเขาหลักสูตรนึงหลายพัน

เป็นไปตามคำเตือนของภรรยาที่บอกว่าถูกเกินไป เดี๋ยวคนอื่นเขาจะว่าไม่มีคุณภาพ

ผมเลยบอกว่าขอให้ส่งภาพนี้ไปให้ดู เป็นการจัดอบรมให้กับ SCG พอเห็นภาพนี้แล้วพอจะไว้วางใจในคุณภาพของผมได้ไหม

ผมเองไปเห็นห้องอบรมของ SCG แล้วยังตกใจเลยครับ เปิดห้องอบรมพร้อมกัน 3 ห้อง แต่ละห้องสูงเหมือนตึก 3 ชั้น ติดจอบนผนังใหญ่เบ้อเริ่ม

พนักงานของ SCG ทุกสารทิศมาลงชื่อสมัครเรียน หลังจากที่ได้รับแจ้งในระบบข่าวสารภายในว่าผมจะไปสอน แพล้บเดียวลงชื่อเรียนกันเต็ม 300 กว่าคน

การอบรมที่ SCG นี้ได้อัดวิดีโอไว้เป็นอย่างดี พอผมเผยแพร่ออกไป เห็นได้ชัดหลายอย่างว่าทำให้เกิดหัวข้อเรื่องใหม่ที่อาจารย์ท่านอื่นนำมาสอนหรือกล่าวถึงกัน แสดงว่าวิดีโอนี้ช่วยปรับความรู้วิธีใช้ Excel ของประเทศได้เยอะทีเดียว ที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีใครนำวิดีโอที่ตัวเองสอนมาเผยแพร่แบบนี้กันมาก่อน

ขอเชิญชมวิดีโอที่ผมสอนที่ SCG ได้ในหลักสูตร Sandbox เปิดโลกนอกห้องเรียนครับ เป็นวิดีโอบันทึกการสอนเต็มวันๆละ 6 ชั่วโมง รวม 5 หลักสูตร

คลิกที่ลิงก์นี้เพื่อลงทะบียนสมัคร ฟรี
https://www.excelexperttraining.com/online/register/free-member/

ปล

ผมไม่ได้คอยเก็บภาพคำชมของลูกศิษย์เอาไว้ครับ เลยไม่ได้นำมาอวด
แค่นี้น่าจะพอ


หรือจะชมวิดีโอจากลิงก์เหล่านี้ได้โดยตรง ซึงคุณพรเทพ จรัสศรี เพื่อนของผมซึ่งเป็นผู้บริหารของ SCG ทำไว้ให้ดูกัน

นี่คือส่วนหนึ่งของการบรรยาย โดยอาจารย์สมเกียรติ ฟุ้งเกียรติ (บันทึกด้วย Software ชื่อ AcuStudio จากบริษัทมัลติมีเดีย เทคโนโลยี จำกัด)

วันแรก:บันทึกการอบรม หัวข้อ “ฉลาดใช้เคล็ดลับของ Excel อย่างมืออาชีพ”

วันที่ 19 มกราคม 2559 โดย อ.สมเกียรติ ฟุ้งเกียรติ โดยแบ่งเป็น 4 ช่วง ดังนี้

ฉลาดใช้เคล็ดลับของ Excel อย่างมืออาชีพ ช่วงที่ 1 http://rms.multimedia.co.th/…/v4/opr/studioclient.asp…

ฉลาดใช้เคล็ดลับของ Excel อย่างมืออาชีพ ช่วงที่ 2 http://rms.multimedia.co.th/…/v4/opr/studioclient.asp…

ฉลาดใช้เคล็ดลับของ Excel อย่างมืออาชีพ ช่วงที่ 3 http://rms.multimedia.co.th/…/v4/opr/studioclient.asp…

ฉลาดใช้เคล็ดลับของ Excel อย่างมืออาชีพ ช่วงที่ 4 http://rms.multimedia.co.th/…/v4/opr/studioclient.asp…

——————————————————————————————————-

วันที่สอง:บันทึกการอบรม หัวข้อ “เครื่องมือที่ขาดไม่ได้ของคนรัก Excel”

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 โดย อ.สมเกียรติ ฟุ้งเกียรติ โดยแบ่งเป็น 4 ช่วง ดังนี้

เครื่องมือที่ขาดไม่ได้ของคนรัก Excel ช่วงที่ 1 http://rms.multimedia.co.th/…/v4/opr/studioclient.asp…

เครื่องมือที่ขาดไม่ได้ของคนรัก Excel ช่วงที่ 2 http://rms.multimedia.co.th/…/v4/opr/studioclient.asp…

เครื่องมือที่ขาดไม่ได้ของคนรัก Excel ช่วงที่ 3 http://rms.multimedia.co.th/…/v4/opr/studioclient.asp…

เครื่องมือที่ขาดไม่ได้ของคนรัก Excel ช่วงที่ 4 http://rms.multimedia.co.th/…/v4/opr/studioclient.asp…

Excel 365 Spilling

Excel 365 มีความสามารถพิเศษที่จะกระจาย (Spill) สูตรที่อ้างอิงถึงพื้นที่ตารางให้เอง โดยที่เราไม่จำเป็นต้องเสียเวลา Copy สูตรไป Paste ลงไปในพื้นที่ตารางเองแม้แต่น้อย

เช่น ในเซลล์ C3 พอสร้างสูตรแบบนี้ลงไปจะกระจายสูตรไปในพื้นที่ตาราง C3:F5 ให้เอง

=C2:F2*B3:B5
=$C$2:$F$2*$B$3:$B$5
=Top*Left

ใน Excel 365 มีความสามารถพิเศษเรียกว่า Dynamic Range ช่วยกระจายสูตรให้เอง ช่วยทำให้สร้างงานได้ง่ายขึ้นมาก แต่มีข้อจำกัดว่า หากลิงก์ข้อมูลในพื้นที่กระจายไปใช้ต่อข้ามแฟ้ม แฟ้มต้นทางต้องเปิดคู่กันกับแฟ้มปลายทางด้วยเสมอ

ในการเรียนการสอน Excel ที่ผมเตรียมไว้นั้นได้เตรียมเนื้อหาเท่าที่จำเป็นสำหรับการใช้ทำงานของผู้ที่เริ่มทำงานหรือเข้าสมัครงานไว้ในหลักสูตรเรื่องรีบรู้เพื่อพร้อมใช้ Excel แบบ Fast and Easy พอเข้าใจว่า $ คืออะไร สร้างยังไง มีประโยชน์อย่างไรก็จะข้ามไปเรียนเรื่องอื่น

ส่วนหลักสูตรสุดยอดเคล็ดลับและลัดของ Excel จะได้เรียนเรื่อง $ นี้ให้ลึกถึงแก่นทีเดียว จะได้เรียนลูกเล่นและข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ $ เช่น เคล็ดการทำให้ $ หยุดช่วยในการสร้างงาน เวลาคนอื่นเอาแฟ้มไปใช้ต่อ จะไม่สามารถ copy นำสูตรไปใช้ได้

ทำให้แฟ้มของคุณ คนอื่นห้ามมาแตะ แบบนั้นเลยทีเดียว

3D Table

วิธีสร้างตารางให้ดูว่าเป็นภาพ 3 มิติ นูนออกมาหรือบุ๋มลงไป

ทำขอบตารางให้เป็นรอยสลักลงไปในหน้าจอ

เรื่องนี้ตาราง 3 มิตินี้ ผมทำอวดไว้ที่หัวของทุกชีทในแฟ้มที่ใช้สอนทุกหลักสูตรที่สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น) กลายเป็นหน้าตาของ Excel Expert Training ที่ไม่เหมือนใคร

ตอนที่สอนก็บอกลูกศิษย์ว่า ทำไม่ยากหรอกครับ น่าจะแกะกันเองได้ว่าทำยังไง ….. ผ่านไปยี่สิบปี เจอลูกศิษย์อีกครั้ง บอกผมว่ายังทำไม่เป็นเลย

หลักการ

สมมติว่าตั้งหลอดไฟไว้มุมซ้ายบนของจอ ส่องแสงลงมาที่ตาราง

  • ถ้าตารางนูน ขอบตารางด้านบนและด้านซ้ายต้องเจอแสง ส่วนขอบตารางด้านขวากับด้านล่างต้องเป็นเงา
  • ถ้าตารางบุ๋มลงไป ขอบตารางด้านบนและด้านซ้ายต้องเป็นเงา ส่วนขอบตารางด้านขวากับด้านล่างต้องเจอแสง
    ให้ลงสีพื้นตารางสีเทาเข้มหน่อย จากนั้นให้ใช้ Border ธรรมดานี่แหละตีเส้นกรอบ ด้านสว่างก็สีขาว ด้านเงาก็สีดำ … แค่นี้เองครับ
  • ส่วนการทำกรอบแบบรอยสลัก ให้ใช้เส้นกรอบสีเข้มกับสีอ่อนมาวางซ้อนกันแบบเกือบสนิท

หนึ่งในบทเรียนในหลักสูตร เคล็ดการสร้างกราฟให้เห็นปุ๊บ-เข้าใจปั๊บ

Excel Speed vs Human Speed

อย่านึกว่าพอซื้อคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่มีสปีดเร็วสุดๆแล้ว จะทำให้ใช้ Excel ทำงานได้เร็วขึ้น มาดูกันว่าสาเหตุที่ Excel ยังช้าเหมือนเดิมนั้นอยู่ที่ไหน

Download แฟ้มตัวอย่างได้จาก

https://www.excelexperttraining.com/download/ExcelWorldChampions.xlsb

ตัวอย่างนี้ใช้ได้กับ Excel 2007/2010/2013/2016/2019/365
ถ้าใช้ Excel XP/2003 ใช้หลักการสร้างสูตรแบบเดียวกันครับ เพราะวิธีการนี้ใช้ได้กับ Excel ทุก version

จะตื่นตาตื่นใจกว่านี้ถ้าให้ใช้เครื่องรุ่นเก่าที่ช้าสุดๆแล้วใช้ Excel รุ่นโบราณ มาแข่งกับเครื่องรุ่นใหม่ล่าสุดที่ติดตั้ง Excel 365

เรื่องนี้อยู่ในหลักสูตรเรื่องรีบรู้เพื่อพร้อมใช้ Excel แบบ Fast and Easy กับหลักสูตรสุดยอดเคล็ดลับและลัดของ Excel

สมัครเรียนออนไลน์ได้ที่ https://www.excelexperttraining.com/online/courses-price/

เข้าเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาที่สะดวก

ถ้าอยากจะดูวิธีการอื่นๆ ดูได้จากคลิปนี้ครับ

ตารางสูตรคูณ ความจริงที่หัวหน้าไม่เคยนึกถึง

ตารางสูตรคูณที่เห็นนี้เป็นบททดสอบกับลูกศิษย์ที่มาเข้าอบรมกับผมที่สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) มานานหลายสิบปี จากผู้เข้าเรียนทั้งหมด จำได้ว่ามีไม่ถึงสิบคนที่ใช้ Excel สร้างตารางสูตรคูณได้แบบที่ผมนับหนึ่งถึงสิบ สามารถสร้างเสร็จถูกต้องครบทุกเซลล์แล้ววางมือออกจากแป้นพิมพ์

แทนที่จะสร้างสูตร =C$2*$B3 บางคนพิมพ์เลข 20 ลงไปเลย ใช้สมองคิดแล้วไล่กรอกเลขคำตอบที่คิดได้ในใจ วิธีแบบนี้เรียกว่าใช้ Excel แบบเครื่องพิมพ์ดีด

บางคนสร้างสูตร =2*10 ทำแบบเครื่องคิดเลข

ส่วนใหญ่สร้างสูตร =C2*B3 ลงไปในเซลล์ C3 เสร็จแล้วเลื่อนไปที่เซลล์ C4 สร้างสูตร =C2*B4 ไล่สร้างสูตรจับหัวตารางมาคูณกับข้างตารางไปทีละเซลล์

น้อยคนที่ใส่เครื่องหมาย $ เป็น แต่จะสร้างสูตร =$C$2*B3 แล้วลาก copy ลงไปตามแนวตั้ง จากนั้นก็ไปที่เซลล์ D3 สร้างสูตร =$D$2*B3 แล้วลาก copy ลงไป ไล่สร้างสูตรที่เซลล์แรกบนสุดไปเรื่อยๆ

น้อยคนนักที่จะสร้างสูตรที่เซลล์ C3 แบบที่เห็นในภาพนี้ =C$2*$B3 โดยสร้างสูตรที่เซลล์หัวมุมเพียงเซลล์เดียวแล้ว copy ไปวางในตารางให้ครบทุกเซลล์

แต่ช้าก่อน ถึงแม้จะทำได้เสร็จเร็วมากก็ตาม พอผมเดินไปที่โต๊ะแล้วขอให้สร้างสูตรให้ดู … สร้างแบบนี้ก็มีด้วยครับ ในเซลล์ C3 หลังจากพิมพ์เครื่องหมายเท่ากับลงไป จากนั้น

บางคนพิมพ์ C$2 เอง หรือ

บางคนคลิกไปที่เซลล์ C2 แล้วกดปุ่ม F4 ทีเดียว ทำให้ C2 เปลี่ยนไปเป็น $C$2 >>> จากนั้นก็ถึงตอนสำคัญที่ผมเห็นแล้วต้องอมยิ้ม

พอได้ $C$2 แล้วก็หยิบเมาส์คลิกลงไปที่หน้าตัว C จัดการกดปุ่มลบเครื่องหมาย $ ทิ้งไปเอง

… แปลกแต่จริงครับ บางคนทราบว่ากดปุ่ม F4 ช่วยใส่เครื่องหมาย $ ให้ แต่ไม่รู้ว่าสามารถกดปุ่ม F4 ไปเรื่อยๆแล้ว Excel จะสลับการใส่ $ ไปให้เองได้ด้วย เลยเสียเวลาไปลบ $ ที่ไม่ต้องการทิ้งเอง ผมเรียกการใช้งานแบบนี้ว่า มีบุญแต่กรรมมาบัง

น้อยคนนักครับที่จะใช้ขั้นตอนการสร้างตามนี้

  1. เริ่มจากเลือกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์เครื่องหมายเท่ากับ = ลงไป
  2. จากนั้นคลิกเซลล์ C2 จะได้สูตร =C2
  3. กดปุ่ม F4 ไปเรื่อยๆเพื่อเปลี่ยนสูตรให้เป็น =C$2
  4. พิมพ์เครื่องหมายคูณ *
  5. จากนั้นคลิกเลือกเซลล์ B3 จะได้สูตร =C$2*B3
  6. กดปุ่ม F4 ไปเรื่อยๆเพื่อเปลี่ยนสูตรเป็น =C$2*$B3
  7. กดปุ่ม Enter เพื่อรับสูตรลงไปในเซลล์ C3
  8. Copy ไปทับตาราง C3:F5

หัวหน้าส่วนใหญ่ไม่เคยมาดูวิธีการสร้างสูตรของลูกน้องกันหรอกใช่ไหม ขอให้ส่งรายงานตามที่สั่งไปได้ก็พอ แต่ถามว่างานการสร้างตารางสูตรคูณแบบนี้ คิดว่าต้องใช้เวลาสร้างงานนานแค่ไหน

แล้วถ้าตารางสูตรคูณไม่ได้เป็นตารางเล็กๆ แต่มีขนาดใหญ่หลายสิบหรือเป็นร้อยเซลล์ล่ะจะใช้วิธีใด ทำนานแค่ไหน

พอแฟ้มนั้นมีหลายชีทหรือมีหลายแฟ้มขึ้นมา ต้องการสร้างสูตรคูณแบบเดียวกันนี้จะใช้วิธีใด ใช้เวลาทำนานแค่ไหน

ถ้าคุณสนใจแต่ตัวสูตรว่ามีหน้าตาเป็นยังไง กับผลลัพธ์ที่คำนวณได้ถูกต้องแค่นั้น ใครๆก็สอนได้ แต่สำหรับวิธีการเรียนการสอนของผม เน้นเรื่องวิธีการสร้างงานของมนุษย์

อย่านึกว่าใช้คอมพิวเตอร์แล้ว พอเปิด Excel ขึ้นมาจะเรียกได้ว่าเป็นการใช้งานแบบคอมพิวเตอร์

จะทำอย่างไรสำหรับผู้สร้างงาน ที่จะสร้างสูตรได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วที่สุด

ขอถามหน่อยว่า คุณใช้วิธีไหนเพื่อสร้างสูตรคูณแบบนี้ครับ กว่าจะเสร็จนานไหมเอ่ย

ปล

ตารางสูตรคูณตามภาพนี้ ยังมีจุดอ่อนที่ผู้ใช้ Excel สามารถใช้วิธีการสร้างที่ฉลาดขึ้นกว่าเดิมได้อีก โปรดติดตามตอนต่อไป

เชิญติดตามบทเรียนก่อนหน้านี้ได้จาก https://www.facebook.com/ExcelExpertTraining/

หรือจากห้องสมุดออนไลน์ https://www.excelexperttraining.com/online/online-library/

แนะนำให้กดติดตาม fb ไว้นะครับ จะนำมาสอนเป็นซีรีส์แบบอ่าน จะได้มีประโยชน์กับผู้สมัครเรียนออนไลน์ที่ชมคลิปวิดีโอหลักสูตรสุดยอดเคล็ดลับและลัดของ Excel ไปในตัว

สูตรฉลาด (Smart Formula)

Smart Formula แปลว่า สูตรฉลาด ซึ่งสูตรฉลาดที่ว่านี้จะฉลาดได้ก็ต่อเมื่อใช้ความฉลาดของคุณในการสร้างสูตรขึ้นมา เพื่อให้มีลักษณะการใช้งานได้ตามนี้

ในชีทหนึ่งๆหรือตารางหนึ่งๆ ต้องมีสูตรต้นฉบับเพียงเซลล์เดียว ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับเซลล์อื่นๆได้ทั้งตาราง แล้วเมื่อใดที่จำเป็นต้องแก้ไขสูตรใหม่ ก็จัดการแก้ไขสูตรนี้เพียงเซลล์เดียวแล้ว Copy นำไป Paste เพื่อใช้ได้กับทุกเซลล์ในตาราง

ในโครงสร้างของตัวสูตรฉลาดอาจใช้วิธีกำหนดตำแหน่งอ้างอิงแบบเซลล์เดียวหรือแบบกำหนดขอบเขตตารางก็ได้ โดยไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็หลีกหนีการกำหนดตำแหน่งอ้างอิงที่มีเครื่องหมาย $ กำกับตำแหน่ง 3 แบบต่อไปนี้ไปไม่พ้น

  • ตำแหน่งอ้างอิงแบบ Absolute Reference มีเครื่องหมาย $ วางไว้ด้านหน้าของทั้งตำแหน่ง Row และ Column เช่น =$A$1 โดยให้ใช้ตำแหน่งอ้างอิงแบบนี้กับกรณีที่ต้องการนำค่าคงที่ไปใช้
  • ตำแหน่งอ้างอิงแบบ Relative Reference เป็นตำแหน่งอ้างอิงซึ่งไม่มีเครื่องหมาย $ เช่น =A1 ซึ่งสูตรที่อ้างอิงแบบนี้จะต้องใช้ที่เซลล์เดิมเซลล์เดียวไปตลอด ไม่สามารถ Copy นำไป Paste เพื่อทำให้ได้ค่าเดิมซ้ำที่เซลล์อื่นได้อีก เพราะตำแหน่งอ้างอิงจะเขยื้อนต่างจากตำแหน่งเดิมเสมอ ดังนั้นจึงเป็นการอ้างอิงแบบที่ใช้ในเซลล์สูตรกันน้อยที่สุด แต่กลับถูกนำมาใช้กันมากใน Conditional Formatting หรือ Data Validation
  • ตำแหน่งอ้างอิงแบบ Mixed Reference เป็นตำแหน่งอ้างอิงที่นิยมใช้กันมากที่สุด โดยผู้สร้างสูตรต้องเลือกใส่เครื่องหมาย $ ด้านหน้าตำแหน่ง Row หรือ Column เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น =A$1 เพื่อคงตำแหน่ง Row 1 ไว้ตามเดิมตลอด หรือ =$A1 เพื่อคงตำแหน่ง Column A ไว้ตามเดิมตลอด ไม่ว่าจะ Copy นำสูตรไป Paste ที่ตำแหน่งอื่นก็ตาม

วิธีสร้างสูตรให้มีตำแหน่งอ้างอิงที่มีเครื่องหมาย $ นำหน้าตำแหน่งของ Row และหรือ Column นี้ ให้ใช้วิธี Pointing แล้วกดปุ่ม F4 ซ้ำไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้ตำแหน่ง $ ตามต้องการ

  1. ให้เริ่มจากพิมพ์เครื่องหมายเท่ากับ = ลงไปในเซลล์ที่ต้องการสร้างสูตร (เพื่อแสดงการยึดครองเซลล์นั้นไว้ก่อนว่า เป็นเซลล์ที่จะรับสูตรลงไปเมื่อเรากดปุ่ม Enter)
  2. จากนั้นใช้วิธีชี้ลงไปในเซลล์ที่ต้องการ (Pointing แปลว่า ชี้) โดยใช้ Mouse คลิกเลือกเซลล์ที่ต้องการ ไม่ว่าจะอยู่ต่างชีทหรือต่างแฟ้มกันก็ตาม เช่น คลิกที่เซลล์ A1 จะได้สูตร =A1
  3. จากนั้นให้กดปุ่ม F4 ไปเรื่อยๆ จะพบว่ามีเครื่องหมาย $ แทรกลงในสูตรให้เองตามลำดับที่มีการกดปุ่ม F4 ดังนี้ A1 > $A$1 > A$1 > $A1 > A1 > แล้วจะมีเครื่องหมาย $ วนซ้ำไปอีก
  4. เมื่อได้ตำแหน่ง $ ควบคุมตำแหน่ง Row และหรือ Column ตามต้องการแล้วให้กดปุ่ม Enter เพื่อรับสูตรลงไปในเซลล์ แล้วจะพบว่า Excel จะพากลับมาที่เซลล์ซึ่งพิมพ์เครื่องหมายเท่ากับนำหน้าสูตรเอาไว้ตั้งแต่แรกนั่นเอง

การใส่เครื่องหมาย $ เพื่อเป็นการควบคุมตำแหน่งอ้างอิงไว้ไม่ให้เขยื้อนนี้ นอกเหนือจากการทำให้คุณสามารถ Copy สูตรไปใช้ในเซลล์อื่นได้ทันทีแล้ว ยังเป็นเรื่องน่าสังเกตว่าช่วยทำให้แฟ้มมีขนาดเล็กลงกว่าแฟ้มที่มีสูตรซึ่งไม่มี $ กำหนดไว้เลย (ขอให้ทดลองลบเครื่องหมาย $ ทิ้งจากสูตรในตารางขนาดใหญ่เพื่อเปรียบเทียบดูขนาดแฟ้ม โดยใช้คำสั่ง Replace เครื่องหมาย $ แต่ไม่ได้ Replace with ด้วยเครื่องหมายใด)

นอกจากตำแหน่งอ้างอิงที่ต้องมีเครื่องหมาย $ เป็นองค์ประกอบสำคัญแล้ว ในโครงสร้างของสูตร Smart Formula ยังอาจจำเป็นต้องพึ่งสูตร IF, And, Or หรือสูตรอื่นๆซึ่งทำหน้าที่ตัดสินใจ เพื่อช่วยทำให้สูตรมีเงื่อนไขในการคำนวณต่างไปจากเดิมได้เองทันที เมื่อมีการนำสูตรเดียวกันไปใช้ซ้ำที่ตำแหน่งเซลล์อื่น

ตัวอย่าง Smart Formula แบบใช้ตำแหน่งอ้างอิงเซลล์เดียว

ขอให้สร้างตารางสูตรคูณ ซึ่งนำตัวเลขบนหัวตารางมาคูณกับตัวเลขด้านข้างซ้ายของตาราง

ขั้นตอนการสร้าง

  1. เริ่มจากเลือกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์เครื่องหมายเท่ากับ = ลงไป
  2. จากนั้นคลิกเซลล์ C2 จะได้สูตร =C2
  3. กดปุ่ม F4 เพื่อเปลี่ยนสูตรให้เป็น =C$2
  4. พิมพ์เครื่องหมายคูณ *
  5. จากนั้นคลิกเลือกเซลล์ B3 จะได้สูตร =C$2*B3
  6. กดปุ่ม F4 เพื่อเปลี่ยนสูตรเป็น =C$2*$B3
  7. กดปุ่ม Enter เพื่อรับสูตรลงไปในเซลล์ C3
  8. Copy ไปทับตาราง C3:F5

คำอธิบาย

  • เซลล์ C3 เป็นเซลล์ที่มีสูตร Smart Formula ซึ่งโดยทั่วไปจะเลือกให้เซลล์หัวมุมด้านซ้ายบนของตารางเป็นเซลล์ที่มีสูตร Smart Formula
  • คุณอาจเลือกสร้างสูตรคูณโดยใช้เลข 2 นำหน้าแล้วนำไปคูณกับเลข 10 เพื่อทำให้ได้สูตร =C$2*$B3 หรือจะเลือกใช้เลข 10 นำหน้าแล้วนำไปคูณกับเลข 2 ซึ่งจะทำให้เกิดสูตร =$B3*C$2 ก็ได้และทำให้เกิดผลลัพธ์ถูกต้องเท่ากันทั้งสองแบบ แต่ขอแนะนำให้สร้างพฤติกรรมในการสร้างสูตรของตนว่า “ทุกสูตรที่สร้างขึ้นจะนำตำแหน่งอ้างอิงตามแนวนอนขึ้นก่อนตำแหน่งอ้างอิงตามแนวตั้งเสมอ” ซึ่งหลักนี้จะช่วยให้คุณแกะสูตรของตัวเองได้ง่ายขึ้น และหากสังเกตสูตรอื่นๆของ Excel เช่น Index หรือ Offset จะใช้ตำแหน่งอ้างอิงจากแนวนอน Row ขึ้นก่อนตำแหน่งอ้างอิงจากแนวตั้ง Column เช่นกัน
  • C$2 ต้องมีเครื่องหมาย $ วางไว้หน้าเลข 2 เนื่องจากตารางสูตรคูณนี้มี Row 2 เป็นตำแหน่งอ้างอิงที่ต้องควบคุมไว้ไม่ให้เปลี่ยน ส่วนตัว C ไม่ต้องมีเครื่องหมาย $ นำหน้า เพื่อปล่อยให้ C เปลี่ยนตำแหน่งเป็น Column D E F หรือ Column อื่นๆตามแต่ว่าจะใช้สูตรนี้หรือไม่
  • $B3 ต้องมีเครื่องหมาย $ วางไว้หน้า Column B เนื่องจากตารางสูตรคูณนี้มี Column B เป็นตำแหน่งอ้างอิงที่ต้องควบคุมไว้ไม่ให้เปลี่ยน ส่วนเลข 3 ไม่ต้องมีเครื่องหมาย $ นำหน้า เพื่อปล่อยให้เลข 3 เปลี่ยนตำแหน่งเป็น Row 4 5 6 หรือ Row อื่นๆตามแต่ว่าจะใช้สูตรนี้หรือไม่
  • หลักการใส่เครื่องหมาย $ นี้ ให้จำไว้ว่า “ถ้าตำแหน่งอ้างอิงในสูตรมาจากค่าตามแนวนอน ให้ใส่ $ ไว้หน้า Row (เพราะ แนวนอน = Row) แต่ถ้าตำแหน่งอ้างอิงในสูตรมาจากค่าตามแนวตั้ง ให้ใส่ $ ไว้หน้า Column (เพราะ แนวตั้ง = Column)

ตัวอย่าง Smart Formula แบบใช้ตำแหน่งอ้างอิงตามขอบเขตพื้นที่หัวตาราง

ขอให้สร้างตารางสูตรคูณ ซึ่งนำตัวเลขบนหัวตารางมาคูณกับตัวเลขด้านข้างซ้ายของตาราง

วิธีการสร้างคล้ายกับวิธีแรก แทนที่จะคลิกเลือกเซลล์ C2 หรือเซลล์ B3 วิธีนี้ให้คลิกเลือกเซลล์ C2:F2 และ B3:B5 ซึ่งเป็นหัวตารางด้านบนและด้านซ้ายทั้งหมด แล้วกดปุ่ม F4 เพื่อทำให้เกิดสูตร =$C$2:$F$2*$B$3:$B$5

  1. เริ่มจากเลือกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์เครื่องหมายเท่ากับ = ลงไป
  2. จากนั้นคลิกเลือกเซลล์บนหัวตารางด้านบนจากเซลล์เลข 2 – 5 จะได้สูตร =C2:F2
  3. กดปุ่ม F4 เพื่อเปลี่ยนสูตรให้เป็น =$C$2:$F$2
  4. พิมพ์เครื่องหมายคูณ *
  5. จากนั้นคลิกเลือกเซลล์บนหัวตารางด้านซ้ายจากเซลล์เลข 10 – 30 จะได้สูตร =$C$2:$F$2*B3:B5
  6. กดปุ่ม F4 เพื่อเปลี่ยนสูตรเป็น =$C$2:$F$2*$B$3:$B$5
  7. กดปุ่ม Enter เพื่อรับสูตรลงไปในเซลล์ C3
  8. Copy ไปทับตาราง C3:F5

คำอธิบาย

  • สูตรแบบที่อ้างอิงกับตำแหน่งทั้งหมดบนหัวตารางหรือข้างตาราง แล้วใส่เครื่องหมาย $ ให้กับตำแหน่งทั้ง Row และ Column นี้ ผมตั้งชื่อเรียกว่า สูตรแบบล้อมรั้ว โดยที่สูตร =$C$2:$F$2*$B$3:$B$5 จะทำหน้าที่นำตำแหน่งอ้างอิงบนรั้วตามแนวตั้งฉากที่ตัดกันมาคูณกันทีละตัวให้เอง ทำให้ไม่ต้องคอยพะวงว่าจะต้องเลือกใส่เครื่องหมาย $ เพื่อควบคุมตำแหน่งอ้างอิงตามแนวใดเป็นหลัก
  • ถ้าเปรียบเทียบกับสูตรคูณวิธีแรกซึ่งใช้ตำแหน่งอ้างอิงแบบเซลล์เดียว จะพบว่าการใช้สูตรอ้างอิงแบบเซลล์เดียวมีความยืดหยุ่นมากกว่า เช่นเมื่อหัวตารางมีขนาดใหญ่มากขึ้น ก็สามารถ Copy สูตรไปใช้ต่อได้ทันที แต่ถ้าสร้างสูตรแบบล้อมรั้ว จะต้องสร้างสูตรใหม่เพื่อกำหนดตำแหน่งอ้างอิงในสูตรให้มีขนาดขยายตาม (เว้นแต่ว่าคุณทราบวิธีขยายขอบเขตตำแหน่งอ้างอิง ซึ่งจะนำมาอธิบายต่อไปในภายหลัง)
  • จุดอ่อนของสูตรแบบล้อมรั้วก็คือ สูตรแบบนี้ใส่เครื่องหมาย $ ควบคุมตำแหน่งแบบ Absolute จึงคำนวณหาคำตอบให้ได้เฉพาะตารางจาก C3:F5 ซึ่งอยู่ภายในขอบเขตของรั้วเป็นแนวของตำแหน่งคงที่ หาก Copy สูตรไปใช้นอกรั้วจะเกิด Error ขึ้น
  • หากใช้ Excel 365 พอสร้างสูตรลงไปในเซลล์ C3 จะพบว่าสูตรกระจายลงไปเต็มในพื้นที่ตารางให้เองโดยไม่ต้องสั่ง Copy ไป Paste ต่อแต่อย่างใด (แถมไม่ต้องใส่ $ ก็ยังคำนวณให้ถูกต้อง)

เรื่องนี้เป็นบทเรียนหนึ่งในหลักสูตรเรื่องรีบรู้เพื่อพร้อมใช้ Excel แบบ Fast and Easy และหลักสูตรสุดยอดเคล็ดลับและลัดของ Excel ถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่ผู้ทำงานทุกคนต้องใช้เครื่องหมาย $ ให้เป็น และหาทางสร้างสูตรเพียงหัวมุมตารางหรือแนวด้านบนหรือแนวด้านข้างเท่านั้นแล้ว Copy ไปวางในพื้นที่อื่น หากสูตรฉลาดจะพบว่า Excel ปรับตำแหน่งอ้างอิงให้เอง

Customized Format

Excel สวยแต่รูป จูบไม่หอมก็ได้ จูบหอมก็ได้

พอเอ่ยถึงโปรแกรม Excel จุดเด่นย่อมอยู่ที่การคำนวณ ซึ่งหลายคนพอเริ่มใช้ Excel บวกเลขก็ส่ายหน้า เพราะไม่เห็นว่ามันจะคำนวณได้ถูกต้องดังใจ อาจพาลคิดในใจว่าสู้ใช้เครื่องคิดเลขคิดให้ยังจะได้คำตอบที่ถูกต้องกว่า Excel เสียอีก นี่เป็นเพราะคนเพิ่งเริ่มใช้ Excel มักเข้าใจผิดไปว่า สิ่งที่เห็นในเซลล์คือสิ่งที่ได้ เห็นอะไรก็ต้องได้อย่างนั้น ถ้าอยากได้ตัวเลขทศนิยมกี่หลัก จะใส่เครื่องหมายคอมมาแทรก ไม่เห็นยาก แค่คลิกเลือก Format ที่ต้องการ

การใช้ Format เป็นเรื่องที่หนังสือ Excel ทั่วไปเขียนอธิบายไว้เป็นบทต้นๆ โดยหารู้ไม่ว่าเรื่องนี้ต้องเขียนเป็นบทท้ายๆ โดยเฉพาะต้องเขียนไว้หลังจากบทเรื่องสูตร Round, Trunc, และ Int เพื่อทำให้ผู้ที่เริ่มใช้ Excel เรียนรู้วิธีใช้สูตรสำคัญเหล่านี้ มาใช้ปรับตัวเลขในเซลล์ให้มีค่าเหลือเท่าที่ต้องการก่อน จากนั้นจึงค่อยใช้คำสั่ง Format ปรับค่าในเซลล์ให้แสดงผลลัพธ์ตามที่ต้องการเป็นลำดับถัดไป

การกำหนด Format ให้กับเซลล์มีขั้นตอนไม่ยาก คุณอาจเลือกใช้วิธีคลิกเลือกปุ่ม Format Number ที่แสดงบนเมนู หรือใช้วิธีคลิกขวาลงไปในเซลล์แล้วเลือกเมนู Format Cells > Number หรือถ้าในแฟ้มนั้นมีเซลล์ที่เคยกำหนดรูปแบบไว้แล้ว แค่สั่ง Copy แล้วไป Paste Special เลือกเฉพาะ Format ก็จะได้รูปแบบนำไปใช้ที่เซลล์อื่นเนื่องจาก Format หรือรูปแบบที่เรากำหนดจะติดอยู่กับเซลล์นั้นๆ ไม่ได้ติดอยู่กับตัวแฟ้มหรือตัวโปรแกรม (ซึ่งใน Excel 2007 เป็นต้นมาจะยอมรับรูปแบบสูงสุดถึง 64,000 แบบเหนือกว่ารุ่นก่อนๆซึ่งรับรูปแบบได้เพียง 4,000 แบบต่อแฟ้มเท่านั้น)

Excel จัดเตรียม Format มาตรฐานไว้ให้ใช้กับตัวเลขได้มากมายหลายแบบ แต่ถ้าคุณสามารถกำหนดได้เองลงไปแบบ Custom โดยพิมพ์รูปแบบลงไปในช่อง Type จะสะดวกรวดเร็วกว่าการนั่งไล่คลิกเพื่อค้นหาจนพบ Format ที่ต้องการ

หลักการกำหนด Format Cells > Number

Excel ใช้เครื่องหมาย # และ 0 แทนตำแหน่งของตัวเลข

ซึ่งถ้าใช้เครื่องหมาย # แล้วตัวเลขมีค่าไม่ถึงก็จะไม่แสดงเลขหลักนั้น

แต่ถ้าใช้ 0 จะแสดงแทนด้วยเลข 0 ออกมาให้เห็น เช่น ถ้าพิมพ์ตัวเลข 1.2 ลงไป ถ้าใช้ Format ##.## จะแสดง 1.2

แต่ถ้าใช้ Format 00.00 จะแสดง 01.20 ด้วยเหตุนี้ใน Format มาตรฐานที่ Excel เตรียมไว้ จะพบว่าอย่างน้อยตัวเลขหลักหน่วยและหลักทศนิยม จึงกำหนดให้ใช้เลข 0 ไว้เสมอ เช่น #,##0.00

ด้านหน้าของ Format ที่เป็นเครื่องหมาย # หรือเลข 0 เราสามารถกำหนดสีของ Font ได้โดยพิมพ์ชื่อสีที่ต้องการไว้ในเครื่องหมาย [ ] เช่น [Red] หรือถ้าจำชื่อสีไม่ได้ ให้ใช้ [Colorn] แทน โดย n คือเลขของสีที่ต้องการ เช่น [Color12]

เครื่องหมายวงเล็บ [ ] ยังใช้ในแบบเงื่อนไขเพื่อควบคุมให้แสดงผลออกมาเฉพาะเมื่อตรงกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเครื่องหมาย [ ] เช่น [>=90]00000.00 จะทำให้ตัวเลขที่พิมพ์ลงไปในเซลล์ที่ใช้ Format นี้ เฉพาะเมื่อมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 90 ให้แสดงตัวเลขในรูปแบบ 00000.00

ใน Format สามารถแทรกสัญลักษณ์หรือตัวอักษรไว้ด้านหน้า ด้านหลัง หรือระหว่าง Format ที่เป็นเครื่องหมาย # หรือเลข 0

กรณีแทรกสัญลักษณ์ ให้พิมพ์แทรกได้โดยตรง เช่น (0 . 00) % มีเครื่องหมายวงเล็บ เครื่องหมายวรรค จุดทศนิยม และ % เป็นสัญลักษณ์

กรณีแทรกตัวอักษร ต้องพิมพ์ตัวอักษรไว้ระหว่างเครื่องหมายคำพูด เช่น
“Total” 0.00 “บาท”

ถ้าต้องการปัดตัวเลขให้เป็นหลักพันให้เติมเครื่องหมายคอมมาต่อท้ายหนึ่งตัว

ถ้าต้องการปัดเป็นหลักล้านให้เติมคอมมาต่อท้ายสองตัว เช่น 0.00,, จะแสดงตัวเลข 123456789 ที่บันทึกลงไปออกมาเป็น 123.46 โดยค่าที่แท้จริงยังคงเท่ากับ 123456789 ตามเดิม

ให้ใช้เครื่องหมาย ; ได้สูงสุด 3 ตัว เพื่อควบคุม Format ให้เปลี่ยนตามค่าบวก ค่าลบ ค่าศูนย์ และค่าที่เป็นตัวอักษร ในโครงสร้างตามนี้

ค่าบวก;ค่าลบ;ค่าศูนย์;ค่าที่เป็นตัวอักษร

ถ้าไม่ใส่เครื่องหมาย ; เลย แสดงว่าเป็น Format กลางที่ให้ตัวเลขทุกค่าใช้ Format นั้นร่วมกัน

หลังจากเครื่องหมาย ; ที่เติมต่อท้ายลงไป ถ้าใส่ ; ตัวใด ต้องตามด้วย Format ของค่านั้นๆ แต่ถ้าเราไม่ได้กำหนด Format ของนั้นๆไว้ด้วย จึงไม่แสดงค่านั้นๆ

ตัวอย่างต่อไปนี้ สมมติว่าค่าที่พิมพ์ลงไปในเซลล์คือ 123, -123, 0, Hello

Format ;;; จะไม่แสดงอะไรให้เห็นเลย

Format 0.00 จะแสดง 123.00, -123.00, 0.00, Hello

Format 0.00; จะแสดง 123.00, ค่าลบไม่แสดง, 0.00, Hello

Format 0.00;Red จะแสดง 123.00, (123.00) ในสีแดง, 0.00, Hello

Format 0.00;; จะแสดงเฉพาะค่าบวก 123.00 กับ Hello เท่านั้น ค่า ลบ และ 0 ไม่แสดง

Format 0.00;;; จะแสดงเฉพาะค่าบวก 123.00 เท่านั้น

Format 0.00;(0.00);; จะแสดงเฉพาะค่าบวก123.00 กับค่าลบ (123.00)

Format “Yes”;”No”;”Reject”; จะแสดง Yes, No, Reject

Format “Total” 0 “Baht”. 00 “Satang”;;; จะแสดง Total 123 Baht. 00 Satang

Format 0.00_);(0.00);; จะแสดง 123.00 ได้แนวตรงกับค่าลบ (123.00) โดยเครื่องหมาย _) ที่เติมต่อท้าย Format ค่าบวก หมายถึง ให้ห่างจากขอบขวาของเซลล์เท่ากับความกว้างของเครื่องหมาย )

ตัวอย่าง Format แปลกๆ

Format [>=90]”A”;[>=70]”B”;”C” จะเปลี่ยนตัวเลขในเซลล์ตามเงื่อนไขว่า
ถ้าค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 90 ให้แสดงตัว A แทนตัวเลขนั้น
ถ้าค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 70 ให้แสดงตัว B แทนตัวเลขนั้น
หรือมิฉะนั้นให้แสดงตัว C

Format [=1]”Yes”;[=0]”No”;”Reject” จะแสดงคำว่า Yes, No, Reject แทนตัวเลขที่มีค่าเท่ากับ 1, 0, หรือตัวเลขอื่น ตามลำดับ

Format “4”;”4”;”4”;”4” จะเปลี่ยนค่าให้เป็นเลข 4 แทนไม่ว่าค่าที่แท้จริงจะเป็นเท่าใด

Format 0000 จะแสดงเลข 123 ออกมาเป็น 0123 (ซึ่งตัวเลขยังคงมีสถานะเป็นตัวเลขตามเดิม ถูกต้องกว่าการพิมพ์ ‘0123 หรือใช้คำสั่ง Format Cells > Number > Text ซึ่งทำให้ตัวเลขเปลี่ยนสถานะมาเป็น Text ซึ่งดูง่ายๆว่าจะชิดซ้ายของเซลล์)

หากต้องการแทรกสัญลักษณ์แปลกที่ไม่มีบนแป้นพิมพ์ลงไปใน Format เช่น เครื่องหมายบวกลบ ± ให้กดปุ่ม Alt ค้างไว้แล้วพิมพ์ตัวเลข 0177 ซึ่งสามารถค้นหาตัวเลขที่ต้องพิมพ์นี้ได้จาก โปรแกรม Character Map ซึ่งสั่งเปิดโปรแกรมนี้ได้ง่ายๆโดยพิมพ์คำว่า charmap ลงไปในช่องของคำสั่ง Start > Run

การใช้คำสั่ง Format Cells > Number จะช่วยปรับการแสดงตัวเลขให้มีตัวอักษรแทรก โดยค่าที่แท้จริงยังคงถือว่าเป็น Number ที่เห็นได้จากการชิดขวาของเซลล์ แต่ถ้าเซลล์มีความกว้างไม่พอจะเห็นเป็นเครื่องหมาย ###### แทน ซึ่งแก้ได้โดยสั่ง Format Cells > Alignment > กาช่อง Shrink to fit เพื่อทำให้ Excel ปรับขนาด Font ย่อลงให้แสดงให้เห็นได้ในเซลล์นั้นเสมอ

ประเด็นเรื่อง Format นี้ขอย้ำว่า การใช้ Format เป็นเพียงการเปลี่ยนสิ่งเห็นเท่านั้น มิได้แก้ไขค่าให้ต่างไปจากเดิมแม้แต่น้อย

หากต้องการนำตัวเลขไปแสดงร่วมกับตัวอักษร ยังมีอีกวิธีหนึ่ง โดยใช้สูตร Text เข้ามาช่วยปรับรูปแบบของตัวเลขแล้วนำไปเชื่อมต่อกับตัวอักษรที่ต้องการโดยใช้เครื่องหมาย & เป็นตัวเชื่อม

สมมติว่า เซลล์ A1 มีค่าเท่ากับ .15 หากต้องการนำเลข .15 ไปแสดงให้เป็นคำว่า Profit 15.0% ทำได้ 2 วิธี

วิธีแรก ใช้คำสั่ง Format Cells > Number > Custom แล้วกำหนด Type เป็น
“Profit” 0.0%

วิธีที่สอง สร้างสูตร =”Profit ”&Text(A1,”0.0%”)
จะพบว่าผลจากวิธีแรกได้คำว่า Profit 15.0% ชิดขวาของเซลล์แสดงว่าสามารถนำไปคำนวณต่อได้ แต่วิธีที่สองแม้จะได้คำเดียวกันแต่จะชิดซ้ายของเซลล์ซึ่งไม่สามารถนำไปคำนวณต่อ จึงขอแนะนำให้ใช้วิธีที่สองกับผลลัพธ์สุดท้ายที่ไม่ต้องนำไปใช้คำนวณต่อเท่านั้น

นอกจากนี้สูตร Text ยังเปรียบได้กับสูตร Round โดยสูตร Text นี้จะปัดตัวเลขและแสดงตัวเลขตามรูปแบบให้ด้วย เช่น =TEXT(123456789,”0.00,,”) จะได้คำตอบเป็น 123.46 และมีค่า 123.46 ด้วย

ทั้งหมดนี้เป็น​บทเรียนหนึ่งในหลักสูตร​สุดยอดเคล็ดลับ​และลัดของ​ Excel

หลักสูตรที่แสดงวิธีประยุกต์ใช้ Excel วางแผนรับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคต

สมัยที่ผมทำงานอยู่บริษัททรู ตอนนั้นยังใช้ชื่อเทเลคอมเอเซีย และกำลังวางแผนทำโครงการโทรศัพท์สองล้านเลขหมาย ซีพีว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงินมาจากธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย กสิกรไทย และไทยพาณิชย์ เชิญมาใช้ห้องทำงานร่วมกันที่ตึกซีพีทาวเวอร์สีลม

พอได้รู้จักพูดคุยจนสนิทกันพบว่า เจ้าหน้าที่วางแผนการเงินแต่ละคนล้วนอยากรู้อนาคตกันทั้งนั้น เวลาคุยกันเรื่องนั่งทางใน เคาะไข่ต้ม หรือดูดวงเนี่ย เม้าเล่าประสบการณ์กันมันส์มาก

ในการวางแผนเพื่อใช้ตัดสินใจนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องประมาณการยอดขายให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงได้มากที่สุด ด้านการก่อสร้างก็ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ด้านเทคนิด ใช่ว่าจะให้นักบัญชีการเงินมาทำ ฟีส projection ดุ่ยๆได้เลย แต่ขนาดใช้ผู้เชี่ยวชาญที่สุดมาช่วยกันแล้ว นึกไม่ถึงว่าโทรศัพท์มือถือจะเข้ามาแทรกชิงตลาดจนโทรศัพท์บ้านหรือตู้สาธารณะแทบจะสูญพันธุ์

ก่อนหน้าที่ผมจะมาดูโครงการโทรศัพท์ ได้ทำงานวิเคราะห์โครงการร้านอาหารหลากหลายประเภท ตั้งแต่ร้านริมถนนไปจนถึงระดับ high-end ที่รับเฉพาะสมาชิกที่นั่งรถเบนซ์เท่านั้นมาเข้าร้านได้ ตัวแปรที่สำคัญซึ่งจะชี้เป็นชี้ตายว่าจะทำโครงการสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับต้นทุนของสถานที่ ถ้าต้องซื้อทั้งที่ดินและก่อสร้างเองยิ่งทำกำไรยาก ด้านการขายก็ต้องดูว่าประเภทอาหารที่ขายนั้น ลูกค้ามาทานแล้วอีกนานไหมจะมาทานอีกครั้ง ถ้าทานพิซซาไปแล้ว อีกกี่เดือนจะเข้ามาสั่งอีก น่าเสียดายที่โครงการเหล่านี้ผมมีส่วนแค่ช่วงเริ่มต้น ไม่ได้ดูแลต่อเพราะมีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารและผมถูกย้ายไปดูโครงการโทรศัพท์แทน

ในแง่ของการใช้ Excel เครื่องมือที่จะใช้ช่วยในการวางแผนหรือทำ Feasibility Study ถ้าเปิดตำราจะพบว่าอยู่ที่เมนู Data > What-if Analysis ซึ่งมีให้เลือกใช้อยู่ 3 อย่าง

  1. Goal Seek
  2. Data Table
  3. Scenarios

Goal Seek สามารถใช้กับตัวแปรที่เป็นตัวเลขและต้องทำเองทีละครั้ง ส่วน Data Table ก็รับตัวแปรได้แค่ 1-2 ตัว ถ้าไปใช้ Scenarios แม้จะรับตัวแปรได้เยอะขึ้นแต่วิธีใช้งานก็ยุ่งยากไม่คล่องตัวหากจะกำหนดค่าของตัวแปรใหม่

ถ้าอยากจะทำให้การวางแผนสามารถคิดเผื่อเหตุการณ์ที่อาจจะเป็นไปได้ ต้องพึ่งการออกแบบฐานข้อมูลของตัวแปรที่คิดไว้ จากนั้นแทนที่จะใช้ Data Table ส่งค่าไปทีละ 1-2 ตัว ก็ให้ใช้สูตร Choose VLookup Match Index ช่วยดึงแต่ละเคสไปคำนวณพร้อมกันรวดเดียว เมื่อนำไปใช้กับ Data Table แล้วก็จะทำได้โดยไม่จำกัดตัวแปรอีกต่อไป

พอสร้างแฟ้มที่ใช้คำนวณวางแผนโครงการหนึ่งๆซึ่งอาจจะมีความเป็นไปได้หลายสิบเคส เกิดต้องการจะวางแผนโครงการอื่นก็ให้ใช้คำสั่ง Data > Edit Links > Change Source ช่วยดึงข้อมูลที่เป็นตัวแปรมาใช้คำนวณ ช่วยทำให้สามารถใช้แฟ้มคำนวณแค่แฟ้มเดียวที่เสียเวลาลงแรงสร้างแทบแย่ นำไปใช้กับการวิเคราะห์โครงการอื่นได้โดยไม่ต้องสร้างแฟ้มคำนวณขึ้นมาใหม่อีก

วิธีการทั้งหมดนี้ผมเชื่อว่าจะช่วยนักธุรกิจหรือเจ้าของกิจการที่กำลังหาทางวางแผนเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนเช่นทุกวันนี้ ซึ่งผมได้นำเสนอวิธีการใช้ Goal Seek และ Data Table ไว้ในหลักสูตรสุดยอดเคล็ดลับและลัดของ Excel ไว้เรียบร้อยแล้ว เป็นเคล็ดวิชาที่ผมใช้ทำมาหากิน ไม่มีในตำราเล่มใด และไม่เคยพบว่ามีใครใช้งานได้แบบที่ผมใช้อยู่ (ส่วน Scenarios นั้น พอเจอวิธีการใหม่ที่ผมใช้จะล้าสมัยไปเลย)

ดูเนื้อหาหลักสูตรได้จาก
https://www.excelexperttraining.com/online/download/tip.pdf

ราคาเรียนออนไลน์ก็ถูกแสนถูก เมื่อเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับ ขอแนะนำให้สมัครเรียนแพครวม 4 หลักสูตรในราคาเพียง 1,250 บาท จะเข้าเรียนเมื่อไหร่ที่ไหนก็ได้แล้วแต่สะดวก

เชิญไปสมัครได้ที่
https://www.excelexperttraining.com/online/courses/101-expert-tips-tricks-traps/

ปล

เคล็ดลับนี้ไม่ได้มีประโยชน์แค่กับการวางแผนเท่านั้น สามารถนำไปใช้กับงานด้านผลิต การขาย บริหารผลิตภัณฑ์ อื่นๆได้อีก

การสร้างรายงานตามรายสินค้า ตามรายสาขา รายเดือน รายปี จะเหลือแค่ตารางเดียว ชีทเดียว แฟ้มเดียว ไม่ต้องแยกชีทหรือแฟ้มตามรายวัน รายเดือน รายปีอีกต่อไป

ตื่น ตื่น เลิกฝันว่าจะแชร์แฟ้ม Excel ได้แล้ว

ช่วงนี้เราใช้คอม มือถือ ไอแพด ติดต่อกันง่ายเหลือเกิน แน่นอนย่อมมีความต้องการอยากจะแชร์แฟ้ม Excel กันมากขึ้น จะได้ให้พนักงานช่วยกันกรอกข้อมูล งานจะได้เสร็จเร็วขึ้น ไม่ต้องมาที่ทำงานก็ได้ ต่างคนต่าง WFH

Excel ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ใช้แฟ้มทีละคน ถ้าไม่เชื่อลองค้นหาเมนู Share Workbook ให้เจอก่อนว่าอยู่ที่ไหน

หาก Excel มีไว้ใช้แชร์กันก็น่าจะสร้างเมนูใหญ่ๆ มีคำว่า Share ตัวโตๆ จะได้เลือกใช้งานได้ง่าย ใครที่ใช้ Excel 2019/365 จะหาเมนูนี้ไม่เจอหรอก เพราะ Microsoft ลบเมนูทิ้งไปแล้ว (ตามภาพ)

ต่อให้ไม่ใช่ Excel แฟ้มจากแอ้ปทุกประเภทสามารถถูกจัดเก็บไว้ในคลาวด์ให้ใช้งานร่วมกัน หลายคนหวังว่าจะใช้ระบบคลาวด์เป็นเส้นทางการใช้งานร่วมกันแบบนี้ใช่ไหม

สมัยผมทำงานพัฒนาระบบงานที่ธนาคารโทยพาณิชย์ ตอนนั้นธนาคารเพิ่งเริ่มใช้เครื่อง ATM เป็นครั้งแรกในไทย ปรากฎว่ามีเคสการฝากถอนเงินระหว่างกรุงเทพกับเชียงใหม่ คุณพ่อนัดกับคุณลูกว่าจะส่งเงินไปให้ในวันนี้ พอคุณพ่อทำรายการฝากเงิน จังหวะเดียวกันนั้นคุณลูกก็กดปุ่มตู้ ATM ถอนเงินออกจากบัญชีของคุณพ่อพอดี

คุณพ่อตรวจสอบยอดเงินในบัญชีของตัวเอง พบว่ายอดคงเหลือเท่าเดิม จึงทำรายการฝากเข้าไปใหม่

ปัจจุบันเหตุการณ์แบบนี้ไม่เกิดปัญหาขึ้นอีกแล้ว ธนาคารได้ปรับปรุงระบบให้ข้อมูลจากเชียงใหม่ส่งรายการมาแสดงการถอนให้เห็นทันที ดังนั้นพอคุณลูกเสียบบัตร ATM ถอนเงิน ก็จะเห็นรายการถอนมาแสดงด้วย ไม่ได้เห็นแค่ยอดคงเหลือเช่นแต่ก่อน

แม้ว่าเรื่องฝากถอนเงินนี้ไม่ได้ทำผ่าน Excel แต่ลองคิดดูนะครับว่าการแชร์แฟ้มในระบบคลาวด์ที่ใช้คนดูแลกันเอง ตั้งแต่การเปิดแฟ้ม แก้ไข กรอกบันทึกข้อมูล แล้วสั่งจัดเก็บแฟ้มลงไปจะเสี่ยงมากแค่ไหน

จะมั่นใจได้ยังไงว่าพออีกคนเปิดแฟ้มขึ้นมาจะได้ข้อมูลล่าสุด ถ้าคนที่กรอกข้อมูลลงไปลืมจัดเก็บแฟ้ม หรือจัดเก็บแฟ้มหลังจากที่อีกคนเปิดแฟ้มขึ้นมา ข้อมูลก็จะไม่เหมือนกันไปแล้ว

ขอแนะนำให้หาโปรแกรมอื่นสร้างขึ้นเพื่อใช้บันทึกและแชร์ข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ทำเป็นเว็บให้ login แล้วบันทึกข้อมูล จะได้ตรวจสอบหาคนรับผิดชอบได้ด้วย จากนั้นให้ใช้ Excel สำหรับนำข้อมูลมาสร้างเป็นรายงานหรือวิเคราะห์ข้อมูล

ความบังเอิญของวันและวันที่

12/8/2021 เป็นวันพฤหัส

จะทำอย่างไรให้เซลล์ที่บันทึกค่านี้แสดงว่าเป็นวันพฤหัสหรือ Thursday

บางคนอาจใช้สูตร =Text(DateCell, “dddd”) จะได้ พฤหัสบดี

แต่ค่าที่ได้ออกมาด้วยสูตร Text จะมีสถานะเป็นตัวอักษร ไม่สามารถนำไปคำนวณต่อได้

ทางที่ง่ายกว่านั้น ให้เปลี่ยน Format ของเซลล์ที่บันทึกให้เป็น dddd เท่านั้นเอง ตัวเซลล์นั้นจะแสดงออกมาเป็น พฤหัสบดี ให้เองโดยไม่ต้องแก้อะไร

เรื่องแปลกอีกอย่างถ้าสร้างสูตร =WeekDay(DateCell) จะได้เป็นเลข 5 ซึ่งหมายถึงวันพฤหัส

ยิ่งกว่านั้นพอใช้ Format dddd ให้กับเซลล์เลข 5 จะได้คำว่า พฤหัสบดี แสดงออกมาเช่นกัน

เมื่อทราบเช่นนี้แล้วเวลาสร้างหัวตารางที่เป็นวันที่ ขอให้พิมพ์ลงไปในโครงสร้างของ วัน/เดือน/ปีค.ศ. แล้วปรับให้แสดงเป็นอะไรได้ด้วย Format โดยไม่จำเป็นต้องไปใช้สูตรอะไรให้ยุ่งยาก

ปล

  1. ถ้าต้องการให้แสดงเป็นภาษาอังกฤษ Thursday ใช้ Format [$-en-US]dddd
  2. WeekDay เป็นสูตรหาวันอะไรในสัปดาห์ เริ่มจาก 1=Sunday 2=Monday …. 7=Saturday

ท้าชน 2 หลักสูตร : Fast and Easy VS สุดยอดเคล็ดลับและลัดˋ

ท้าชน 2 หลักสูตร : Fast and Easy VS สุดยอดเคล็ดลับและลัด

🔍 ทราบไหม Excel มีกี่สูตร มี Graph กี่แบบ มี Format ให้ใช้มากแค่ไหน
.
Excel 2019 มี 473 สูตร มีกราฟให้เลือกใช้ 11 แบบ มีรูปแบบที่สามารถใช้ในคำสั่ง Format ผสมกันได้กว่า 4,000 รูปแบบ ส่วนใน Excel 365 มีมากกว่านี้อีก ไม่อยากนับเลยว่าคำสั่งบนเมนูมีอะไรให้ใช้บ้าง
.
นับวันก็จะมีมากขึ้นเรื่อยๆครับ ถ้านำทุกอย่างที่ Excel มีอยู่ นำมาทำวิดีโอให้เรียนกัน คนสอนก็ไม่อยากทำ คนเรียนก็ไม่อยากเรียน
.
เรียนไปก็ไม่ได้ใช้ เดี๋ยวก็ลืม
.
อย่างกราฟที่มีตั้ง 11 แบบนั้น ถ้าเอามาผสมกันจะมีมากกว่านี้อีก แต่ที่ใช้กันจริงๆ ใช้กันบ่อยๆ มีแค่ 3 แบบ : กราฟเส้น กราฟแท่ง กับกราฟ Pie ดังนั้นในหลักสูตรเรื่องกราฟของผมจึงเน้นกราฟแค่นี้ แต่มุ่งทำให้นำไปใช้งานได้อย่างที่นึกไม่ถึงว่ากราฟจะทำได้
.
ผมเคยถูกลูกศิษย์ถามอยู่บ่อยๆว่า คำสั่งตรงนั้นตรงนี้คืออะไร ผมก็ตอบว่า ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกัน ไม่เคยใช้ และไม่คิดว่าสำคัญ ไม่อยากให้เสียเวลาเรียน หลายอย่างรอไว้ติดปัญหา หรืออยากใช้ขึ้นมา ค่อยค้นหาจากกูกเกิลก็ได้
.
บางเรื่องจำเป็นต้องใช้ ใช้กันบ่อยๆ ก็ต้องรีบเรียน รีบใช้ให้เป็น ซึ่งผมจัดเตรียมเนื้อหาไว้ในหลักสูตรเรื่องรีบรู้เพื่อพร้อมใช้ Excel แบบ Fast and Easy มีวิดีโอแค่ 45 ตอน ใช้เวลาเรียน 6 ชั่วโมง 31 นาที
.
จำนวนวิดีโอ ไม่มากเกินไป ระยะเวลาก็ไม่ยาว ไม่ยืดเยื้อ เหมาะสำหรับคนที่อยากรู้อยากเรียนแบบเร่งด่วน อยากนำไปใช้สมัครงาน หรือเข้าทำงาน
.
ส่วนหลักสูตรสุดยอดเคล็ดลับและลัดของ Excel วิดีโอ 84 ตอน ความยาว 24 ชั่วโมง 8 นาที มีเนื้อหาเริ่มต้นคล้ายกับ Fast and Easy แต่มีความลึกและพลิกแพลงเหนือกว่า Fast and Easy มากๆ
.
เหมาะกับผู้ที่ใช้ Excel เป็นประจำ ยิ่งติดปัญหามาก่อน ยิ่งเหมาะที่จะเรียนสุดยอดเคล็ดลับ
.
ผมจะไม่สร้างหลักสูตรให้ยาวหรือมีบทเรียนมากมายเพื่อทำให้ดูว่า คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป
.
สมองของเรามีไว้สำหรับคิด ไม่ได้มีไว้จำ โดยเฉพาะจำเรื่องอะไรที่ไม่ควรจำ

ลำดับการเรียนออนไลน์

จะเริ่มเรียน 10 หลักสูตรนี้อย่างไรดี สำหรับสมาชิกที่สมัครเรียนแบบแพคคู่กับแพครวม 4 หลักสูตร ที่เปิดรับสมัครตั้งแต่ต้นสิงหาคมนี้ + ฟรีอีก 6 หลักสูตร

ใช้วิธีเรียนโดยดู ฟัง ไม่ต้องทำตามก่อนรอบสองรอบ แล้วจึงมาลองทำตาม
————

ถ้าไม่รีบร้อน แนะนำให้เข้าเรียนตามลำดับนี้ครับ
.

  1. เตรียมพร้อมเครื่อง เตรียมพร้อม Excel
  2. จับประเด็นการใช้สูตรติดไม้ติดมือ
  3. สุดยอดเคล็ดลับและลัดของ Excel
  4. เคล็ดการสร้างกราฟให้เห็นปุ๊บ-เข้าใจปั๊บ
  5. ฉลาดใช้สารพัดสูตร Excel อย่างมืออาชีพ
  6. หันมาใช้ Excel จัดการข้อมูลแทน Access กันดีกว่า
  7. Excel Dynamic Reports
  8. เคล็ดการเพิ่มผลงาน ลดความซับซ้อนของงานด้วย Excel VBA
  9. สารพัด ฟรี สารพัด File แจก ฟรี
  10. Sandbox for Excel Expert เปิดโลกนอกห้องเรียน ฟรี
    ————

📚 2 หลักสูตรแรก เป็นพื้นฐานของทุกหลักสูตร จะได้เข้าใจภาพรวมก่อนครับ
.
📚 จากนั้นเรียน “สุดยอดเคล็ดลับและลัด” ถ้ารีบ ให้เรียนไปจนเข้าใจเรื่องการใช้ Range Name ก่อนแล้วจะกระโดดไปเรียนหลักสูตรอื่น (เช่น หลักสูตร “สร้างกราฟ” เพราะมีอายุสมาชิก 3 เดือน ต้องรีบเรียนหน่อย) แต่ถ้าไม่รีบควรเรียนให้จบสุดยอดเคล็ดลับ (วิดีโอ 84 ตอน 24 ชั่วโมง 8 นาที)
.
ตอนนี้ ความรู้ที่ได้เรียน คุณจะเริ่มมองเห็นแล้วว่า แฟ้มที่คุณสร้างไว้มีอะไรที่ต้องปรับปรุงแก้ไขบ้าง จะสร้างงานให้เหนือกว่าเดิมได้อย่างไร จะใช้สูตรหรือคำสั่งอะไรมาร่วมกันได้บ้าง
.
📚 อย่าเพิ่งใจร้อน รีบไปแก้ไขแฟ้มงานที่ทำไว้นะครับ ใจเย็นๆ รอไว้ให้เรียน หลักสูตร “ฉลาดใช้สารพัดสูตร” ให้เสร็จก่อน (วิดีโอ 126 ตอน 30 ชั่วโมง 9 นาที) จะได้เห็นอีกหลายแนวทางในการสร้างงาน
.
เวลาสร้างงานนั้นต้องเตรียมพร้อมรับกับเหตุการณ์ที่ควบคุมไม่ได้เยอะแยะไปหมด
.
📚 ถัดมาไปเรียน “จัดการข้อมูล” เพื่อให้เห็นทางเลือกอื่นที่จะสร้างรายงาน หาคำตอบที่ต้องการ
.
ถ้างานที่ทำแค่ครั้งเดียวไม่ต้องใช้แฟ้มซ้ำอีก ให้เลือกใช้คำสั่งบนเมนู เลือกให้ดีว่าจะไปใช้ Pivot Table หรือใช้คำสั่งอื่นบนเมนู Data แต่ถ้าต้องใช้แฟ้มนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีกก็จะเป็นต้องสร้างสูตร
.
📚 ถ้ารายงานเกี่ยวข้องกับผู้บริหาร ใช้ในการวางแผนตัดสินใจ มาเรียนหลักสูตร “Dynamic Reports” กันต่อ
.
อ่านแล้วเหนื่อยใจหรือเปล่าครับ ทำไมต้องเรียนอะไรมากแบบนี้ อยากใช้ Excel เอาตัวรอด พึ่งตัวเองได้โดยไม่ต้องไปถามใคร ต้องเรียนกันแบบนี้แหละ
.
ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะเป็นคนโปรดของหัวหน้า เป็นที่หนึ่งในออฟฟิส
————

สำหรับคนที่คิดว่าตัวเองเก่ง Excel มากๆ อย่าเพิ่งมั่นใจว่าเก่งจริงแล้วจะเรียนข้าม แนะนำให้เรียนตามลำดับนี้เหมือนกัน ถ้าเก่งจริงก็จะใช้เวลาทำความเข้าใจได้เร็วกว่าคนอื่น รับรองว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่คิดไม่ถึง
.
ที่สำคัญกว่าวิธีการใช้ Excel อยู่ที่หลักการและแนวทางการคิดหาทางนำ Excel ไปใช้ให้ถูกกับงาน ถูกกับคนใช้ และตรงกับสถานการณ์
.
บางคนจะเปิดวิดีโอฟังแค่เสียงที่ผมสอนไปเรื่อยๆ เพราะผมจะพูดสอนไม่หยุดพักเกิน 10 วินาที อะไรที่คิด ผมจะพูดออกมาให้ทราบด้วยว่า เมื่อเปิดแฟ้มขึ้นมา พอเห็นตาราง ต้องคิดเป็นลำดับยังไง
.
สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้สมัคร เชิญชมวิดีโอแสดงวิธีการสมัครเรียนครับ

ขอชวนไปสมัครเรียน ฟรี 6 หลักสูตรกันก่อน ไม่พอใจจะได้ไม่ต้องจ่ายเงิน


แฟ้มกราฟแสดงลำดับการทำงาน

ไปยังไงบ้างครับ ได้สมัครเข้าเรียน ฟรี 3 เดือน วิธีสร้างกราฟ หรือยัง

ตัวอย่างนี้เป็นกราฟแบบ XY Scatter 2 รูปที่ซ้อนกันในหน้าเดียว พอกดปุ่ม F9 เส้นกราฟที่แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานจะดิ้นไปเรื่อยๆ

Download ตัวอย่างได้จาก
https://docs.google.com/spreadsheets/d/1Zg-6eHZ-1kTBKvc6Ck4vpyB1Wfe12Hyt/edit?usp=sharing&ouid=116915095293786385908&rtpof=true&sd=true

เชิญสมัครเรียนหลักสูตร ฟรี ได้ที่
https://www.excelexperttraining.com/online/free-excel-expert-training-videos/

ปล ในหลักสูตร VBA ที่เรียนฟรีตลอดชีพมีแฟ้มโหราศาสตร์พร้อมรหัสไว้แกะด้วยครับ

วิธีบันทึกวันที่สำหรับผู้ป่วยโควิด

วิดีโอตอนที่ 1

ในรายงาน COVID ของไทย เราเป็นคนไทย แต่ทำไมจึงไม่ควรใช้ปีพ.ศ.บันทึกลงไปใน Excel

การบันทึกแบบที่ปลอดภัย คือ ให้พิมพ์ในโครงสร้าง 14/2/2021

หมายถึง วันที่ 14 เดือน 2 ปีค.ศ. 2021โดยไม่ต้องแตะที่คำสั่ง Format

วิดีโอตอนที่ 2

ในการกรอกวันที่รับผู้ป่วยโควิดลงไปในตาราง

ทราบได้ยังไงว่า 10/8/2021 ที่กรอกลงไปเป็นวันที่ 10 เดือน 8 หรือเป็นเดือน 10 วันที่ 8 กันแน่

ต้องใช้สูตร Day Month Year เพื่อตรวจสอบ หรือจะให้ดีต้องตรวจสอบที่ Windows > Settings > Region ว่าเป็น Thailand

วิดีโอตอนที่ 3

วิธีควบคุมการบันทึกวันเดือนปีของผู้ป่วยโควิด ให้อยู่ในช่วงวันที่ที่กำหนดไว้ จะได้ไม่บันทึกปีค.ศ. 2564 ลงไป

เริ่มจากพิมพ์วันที่เริ่มต้นและวันที่สุดท้ายที่ยอมให้รับค่าได้ลงไป

ให้เลือกพื้นที่ตารางวันที่แล้วใช้คำสั่ง Data – Validation แบบ Date แล้วกำหนดค่าแบบ Between ลิงก์มาจากเซลล์ช่วงวันที่ที่ยอมรับได้ โดยอย่าลืมใส่ $$ เพื่อคุมตำแหน่งแบบคงที่ไว้ด้วย

แทนที่จะใช้วิธีลิงก์อาจกรอกวันที่ลงไปเองเลยก็ได้

>>> คลิกที่นี่เพื่อศึกษาวิธีใช้วันที่และเวลาเพิ่มเติม

>>> คลิกที่นี่เพื่อไป Download แฟ้มสำหรับบันทึกประวัติผู้ป่วยและการใช้เตียง

แฟ้มสำหรับบันทึกประวัติผู้ป่วยและการครองเตียง

แฟ้มสำหรับบันทึกประวัติผู้ป่วยและการครองเตียง

Download ได้จาก
https://www.excelexperttraining.com/download/Patient_and_Bed.xlsb

แฟ้มนี้มีแค่ 2 ชีท

  1. ชีทผู้ป่วย ใช้สำหรับบันทึกประวัติผู้ป่วยและกำหนดรหัสผู้ป่วย ให้บันทึกรายการตามวันที่และเวลาที่รับผู้ป่วยเรียงต่อกันไปเรื่อยๆตามลำดับก่อนหลัง หากต้องการเพิ่มหัวตารางเพื่อบันทึกรายละเอียดของผู้ป่วย เชิญเพิ่ม Column ได้เองตามสบาย ผมเตรียมไว้ 2,500 คน หากจะเพิ่มจำนวนคนให้ Insert Row เพิ่มเหนือ Row สุดท้ายที่ผมใส่สีส้มไว้ (ผมเขียนวิธีการไว้ใน row ล่างสุดไว้แล้ว)
  2. ชีทเตียงผู้ป่วย เรียงไว้ตามหมายเลขรหัสเตียง ให้ใส่รหัสผู้ป่วยลงไปกำกับเตียงที่ใช้งาน สูตรจะดึงชื่อผู้ป่วยมาใส่ให้เอง ผมเตรียมจำนวนเตียงไว้ 700 เตียง ถ้าไม่พอให้ copy Row สุดท้ายต่อลงไปอีกกี่เตียงก็ได้

เชิญแชร์แจกกันตามสบายครับ

ถ้ามีการเพิ่มคอลัมภ์เพื่อบันทึกประวัติคนไข้เพิ่มเติมในชีทผู้ป่วย แล้วต้องการดึงมาแสดงเพิ่มในชีทเตียง

ให้ใช้สูตรดึงข้อมูลตามนี้ครับ ลอกสูตรเดิมไปใช้ต่อก็ได้ครับ แก้นิดเดียว

=Index( ผู้ป่วย!พื้นที่ตารางส่วนข้อมูลของแนวคอลัมภ์ใหม่ที่เพิ่ม, MATCH(เตียง!$C5,รหัสผู้ป่วย,0))

ให้เปลี่ยนแค่พื้นที่หลังวงเล็บของสูตร Index ให้เป็นพื้นที่ใหม่โดยมีชื่อชีท ผู้ป่วย!นำหน้าพื้นที่ ส่วนสูตร Match ด้านหลังคงเดิมครับ เช่น ตามภาพนี้ให้แก้ตรง ชื่อผู้ป่วย เป็นพื้นที่ใหม่

ถ้าตั้งชื่อ Range Name ให้กับพื้นที่ใหม่เป็น ก็ให้ใส่ชื่อที่ตั้งใหม่แทนคำว่า ชื่อผู้ป่วย ครับ

เชิญติดต่อสอบถามได้ที่ facebook กลุ่มคนรัก Excel
Excel@ExcelExpertTraining.com
097 140-5555
สมเกียรติ ฟุ้งเกียรติ
www.ExcelExpertTraining.com

กดปุ่ม End ตามด้วยลูกศรลง จะกระโดดไป row สุดท้าย
กดปุ่ม Ctrl+Home พร้อมกันจะไปหาเซลล์แรกซ้ายบนสุดของชีท
กดปุ่ม F4 เพื่อใส่เครื่องหมาย $

ตั้งชื่อ Range Name โดยเลือกพื้นที่จากหัวตารางไปจนสุด row สุดท้ายที่ใส่สีส้ม แล้วสั่งที่เมนู Formulas – Create from selection แล้วกด OK
เมื่อต้องการนำชื่อมาใส่ในสูตร ให้กดปุ่ม F3 เพื่อนำชื่อใหม่นั้นมาแก้ในสูตร

สูตร Multiple Match

การหาเลขตำแหน่งรายการข้อมูลที่ซ้ำด้วยสูตร Multiple Match

สูตร VLookup และสูตร Match มีจุดอ่อนตรงที่สูตรเหล่านี้จะทำงานกับข้อมูลที่ไม่ซ้ำเท่านั้น หากนำไปใช้กับตารางที่มีข้อมูลซ้ำจะให้คำตอบของข้อมูลรายการแรกที่ซ้ำกัน ส่วนคำสั่ง Data > Advanced หรือ Filter จะทำงานต่อเมื่อถูกสั่งใหม่เป็นครั้งๆไป ดังนั้นหากต้องการแสดงรายละเอียดของข้อมูลที่ซ้ำกันในทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลง ต้องหันมารู้จักกับสูตรที่เรียกกันว่าสูตร Multiple Match

สูตร Multiple Match ถือเป็นสูตรที่ถูกถามกันบ่อยครั้งมาก ถึงแม้ได้เคยเขียนอธิบายไว้อย่างละเอียดหลายครั้งหลายโอกาสแล้วก็ตาม มักไม่เข้าใจว่าสูตรนี้สร้างกันได้อย่างไรหากไม่ได้เห็นขั้นตอนการสร้างทีละขั้นกับตาตัวเอง

Download ตัวอย่าง
https://excelexperttraining.com/download/MultipleMatch.xlsb

Download ตัวอย่าง
https://excelexperttraining.com/download/MultipleMatchPages.xlsb

อ่านคำอธิบายที่
https://www.excelexperttraining.com/book/index.php/course-manuals/excel-expert-managing-data/multiple-match

หากใช้ Excel 365 มีสูตร Filter จะหารายการได้ง่ายขึ้น

=Filter(DataRange,(KeyRange1=Key1)*(KeyRange2=Key2)*(KeyRange3=Key3))

เช่น

=Filter(DataRange,(ID=”A002″)*(Name=”b”)*(Amount>10))
จะแสดงรายการที่เป็นรหัส A002 ชื่อ b และมีจำนวนมากกว่า 10

เรียนรู้เพิ่มเติมได้จาก
https://www.excelexperttraining.com/book/index.php/course-manuals/search?searchword=Multiple%20Match&ordering=newest&searchphrase=all

รอดพ้นวิกฤตโควิดด้วย Excel

วิกฤตโควิดคราวนี้ หวังว่าหลักสูตร Excel ของผมจะมีส่วนช่วยเหลือให้ธุรกิจของคุณรอดพ้นได้เช่นเดียวกับวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 40 ครับ

ในช่วงก่อนปี 40 หลักสูตร Excel สมัยนั้นแบ่งการเรียนการสอนเป็น Excel ขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นสูง พอผมนำหลักสูตรฉลาดใช้ Excel ในงานธุรกิจอย่างมืออาชีพไปสอนที่สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ในปี 39 ยังจำได้ดีว่า อาจารย์ที่สอน Excel อยู่ก่อนแล้ว ถามผมว่า Excel ที่ผมสอนนั้นเป็น Excel ขั้นไหน

ผมเรียนตอบไปว่า “ไม่ทราบเหมือนกันครับว่าเป็นขั้นไหน ทราบแต่ว่ามีเนื้อหาที่พร้อมต่อการทำงาน”

พอปี 40 เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง มีการลดค่าเงินบาท ธนาคารหลายแห่งปิดตัว ธุรกิจและประชาชนไม่สามารถถอนเงินมาใช้ ส่งผลทำให้หลักสูตร Excel ที่สมาคมปิดตัวเพราะไม่มีคนมาสมัครเข้าเรียน เหลือแต่หลักสูตรของผมที่ยังเปิดสอนต่อไป และแตกตัวออกมาเป็นอีกหลายหลักสูตร เช่น สุดยอดเคล็ดลับและลัดของ Excel, หันมาใช้ Excel จัดการข้อมูลแทน Access กันดีกว่า, และเคล็ดการเพิ่มผลงาน ลดความซับซ้อนของงานด้วย Excel VBA

แรกๆก็สอน 3 เดือนครั้ง ปรับมาสอนบ่อยขึ้นเป็น 2 เดือนครั้ง เดือนละครั้ง สัปดาห์ละครั้ง แต่ละหลักสูตรมีผู้สนใจมาเรียนกันเต็มห้อง โดยเฉพาะหลักสูตรสุดยอดเคล็ดลับและลัดนั้น ลูกศิษย์หลายคนถึงกับต้องจองคิวกันเข้าเรียนก่อนล่วงหน้าหลายเดือนหรือข้ามปีกันทีเดียว ตัวผมเองก็ถูกสมาคมจองตัวไว้ทั้งปีจนไม่ต้องไปสอนที่อื่น

ทำไมหลักสูตรของผมจึงได้รับความนิยมมากแบบนั้น ?

แน่นอน ประการแรก ผมไม่ได้สอนแบบขั้นต้น ขั้นกลางขั้นสูง แต่ทุกหลักสูตรมุ่งเน้นให้ใช้กับการทำงานได้โดยตรง สอนจากประสบการณ์การทำงาน ไม่เคยเปิดตำราสอน

หลักสูตรที่อื่นก็สอนให้ใช้ Excel ทำงานได้เหมือนกัน แล้วที่ผมสอนนั้นต่างกันตรงไหน ?

เป้าหมายการใช้ Excel ที่ผมตั้งใจให้ทุกคนได้รับก็คือ ต้องใช้ Excel อย่างมีความสุข มีเวลาว่างให้กับชีวิตมากขึ้น ลดเวลาที่นั่งจดจ่ออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์

ผมเน้นเรื่องวิธีการใช้งานของมนุษย์ มุ่งให้ทุกคนทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งสอนยากกว่าการสอนวิธีการใช้งานของ Excel

แล้วมีประโยชน์ต่อนายจ้างของคุณอย่างไร ทำไมจึงกล้าจ่ายเงินส่งพนักงานมาเรียนกับผมมากขึ้นเรื่อยๆ ?

เมื่อคุณสามารถใช้ Excel ได้เร็วขึ้นแล้ว เวลาที่เคยใช้ทำงานก็จะลดลงเหลือนิดเดียว พนักงานก็จะสามารถใช้เวลาไปสร้างผลงานได้มากขึ้นกว่าเดิม สามารถคิดสร้างสรร หาวิธีการใหม่ๆที่ช่วยให้สามารถลดขั้นตอนการทำงาน หรือแม้แต่ช่วยลดจำนวนคน

Excel จะช่วยทำให้สามารถตัดสินใจวางแผนอนาคตได้ ต่อเมื่อรู้จักวิธีใช้ Excel แบบยืดหยุ่น ไม่ใช่มุ่งแต่ความสวยแต่เป็นภาพนิ่งที่บอกอะไรจบแค่นั้น การใช้ Excel ที่ดีต้องช่วยตอบปัญหาว่า ถ้าทำอย่างนี้ จะเป็นอย่างไรในอนาคตได้ด้วย

 

หลักสูตรฉลาดใช้ Excel ในงานธุรกิจ
อย่างมืออาชีพ

หลักสูตรแรกของผม
จัดอบรมที่สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ปีพ.ศ.2539

(ดูภาพขยายด้านล่างของหน้านี้)

ประการสำคัญก็คือ ผมได้เตรียมเนื้อหาหลักสูตรไว้อย่างเป็นระบบ ไม่ได้รวบลัดให้จบหรือเรียนแค่นั้นแค่นี้แล้วนำไปใช้งานแบบลวกๆ

เมื่อเรียนไปแล้ว พอติดปัญหาก็ยกมาถามได้ที่ฟอรัมถามตอบได้อีก ซึ่งยุคนี้ก็กลายมาเป็น facebook กลุ่มคนรัก Excel

หลายบริษัทส่งคนมาเรียนกับผมที่สมาคมทุกหลักสูตร เห็นกันจนคุ้นหน้าว่ามาเรียนกับผมอีกแล้ว เขาเล่าให้ฟังว่าเพิ่งตั้งบริษัทใหม่ ทีแรกกำลังคิดว่าจะจ้างโปรแกรมเมอร์หรือจะหาซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปดี พอมาเรียนกับผมแล้วเลิกคิดแบบนั้นไปเลย พนักงานหันมาใช้ Excel แทนกันทั้งบริษัท

บางบริษัทที่ซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปมาแล้ว ติดปัญหาว่าโปรแกรมโกดังกับการขายไม่สามารถส่งต่อข้อมูลถึงกัน พอมาเรียนแล้วก็ถึงบางอ้อว่าจะทำให้ข้อมูลเดินต่อกันได้ยังไง โดยไม่ต้องจ่ายเงินลงทุนอีก

ตอนนี้ผมได้เตรียมหลักสูตรแบบออนไลน์ไว้เรียบร้อย ตั้งใจให้ไว้ใช้เรียนควบคู่กับ WFH โดยเฉพาะ มีเนื้อหาละเอียดกว่าที่สอนในห้องอบรมหลายเท่า อะไรที่เคยเจอลูกศิษย์ตั้งคำถามไว้หรือชอบถามกันบ่อยๆ ผมก็ได้ทำวิดีโอครอบคลุมไว้แล้ว จะย้อนกลับมาเรียนทบทวนซ้ำกี่ครั้งก็ได้

แทนที่จะมาเรียนกันแบบไลฟ์สด ซึ่งบางคนอยากเรียนเพราะได้ถามกัน แต่วิธีการเรียนแบบเห็นหน้ากันบนจอนี้ได้เรียนเนื้อหากันแค่ไหนก็จบแค่นั้น แม้จะได้เรียนกันไปถามกันไปได้ก็ตาม ยิ่งถามมากก็ทำให้ลดเวลาที่ได้เรียนลงไปอีก แต่ละคนก็ไม่คุ้นกับการใช้ซูม ติดโน่นติดนี่ หักเวลาไปอีก

ราคาค่าเรียนออนไลน์ที่ผมตั้งไว้ถูกมากๆเมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์ที่คุณจะได้รับ ไม่ใช่แค่สามารถนำไปใช้ได้จริง แต่ต้องใช้ “ในการทำงาน” ได้จริงๆ

หลายบริษัทที่ส่งพนักงานมาสมัครเรียนออนไลน์กับผม ก็สามารถมอบหมายงานที่ใช้ Excel โดยพูดจาภาษาเดียวกันทั้งบริษัท ดีกว่าและชัดเจนกว่าการปล่อยให้พนักงานไปหาวิดีโอเรียนกันเองแล้วนำไปใช้กันแบบร้อยพ่อพันแม่

ถ้าผมคาดการณ์ไว้ไม่ผิด ผมมั่นใจว่าหลักสูตรของผมจะเริ่มมีผู้สนใจมากขึ้นเรื่อยๆ แบบเดียวกับคราวก่อนในปี 40 วิกฤตต้มยำกุ้งเช่นกัน หลักสูตรอื่นที่ไม่ได้ช่วยให้ธุรกิจอยู่รอด ควรปรับแผนการสอนออนไลน์ของตัวเอง ไม่งั้นจะทยอยหายไป

ทุกอย่างต้องใช้เวลา เมื่อของดี มีคุณภาพจริง จะบอกกันปากต่อปากกันไปเรื่อยๆ ผมใช้เวลา 20 กว่าปีจึงมาถึงขั้นนี้ “ใจเย็นๆนะ” ผมบอกตัวเอง

อย่างไรก็ตาม ผมขอฝากเนื้อฝากตัวการเรียนการสอน Excel แบบออนไลน์นี้ด้วยครับ

Database Normalization

ตามปกติ ผมจะสอนกฎ 3 ข้อของตารางฐานข้อมูล

  1. หัวตารางและแต่ละรายการต้องบันทึกไว้ใน row เดียวกัน ห้าม Merge
  2. ห้ามเว้น เซลล์ข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญ เช่น วันที่ รหัส ชื่อ ต้องมีบันทึกกำกับทุกรายการ
  3. ห้ามติด รอบข้างของตารางฐานข้อมูล ต้องเว้นไว้อย่างน้อย 1 เซลล์รอบข้าง

3 ข้อนี้เป็นเพียงบางส่วนของหลักการออบแบบตารางเพื่อใช้เก็บข้อมูล ซึ่งใครก็ตามที่ต้องการทำให้ข้อมูลที่เก็บไว้ สามารถนำไปใช้ต่อได้ง่าย ไม่ว่าจะนำไปใช้กับ Pivot Table, Data Filter, Data Sort หรือต้องการนำข้อมูลไปใช้ในสูตรคำนวณ ยังมีหลักการอื่นอีก ซึ่งมีชื่อเรียกหลักการนี้ว่า Database Normalization

  • ห้ามผสมตัวเลขกับตัวอักษร เช่น เรื่องของเงิน ให้บันทึกเฉพาะตัวเลขเงินเท่านั้น อย่าไปใส่ชื่อหน่วยต่อท้ายตัวเลขลงไป ถ้าจะแสดงชื่อหน่วยให้แตกออกมาเป็นอีกคอลัมภ์ แต่ละคอลัมภ์ต้องเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
  • ห้ามรวมข้อมูลหลายเรื่องไว้ด้วยกัน เช่น ที่อยู่ ควรแยกคอลัมภ์บันทึกเลขที่บ้าน แยกออกจากถนน แยกออกจากชื่อแขวง เขต จังหวัด ถ้าเป็นชื่อคน ให้แยกคำนำหน้าชื่อ ออกจากชื่อ นามสกุล
  • ห้ามแยกคอลัมภ์เพื่อใส่ข้อมูลที่ไม่จำเป็น เช่น เอาไว้กรอกว่า ยังไม่ได้รับเงิน ทั้งๆที่มีคอลัมภ์ของเลขที่ใบเสร็จ เพราะถ้ายังไม่มีใบเสร็จก็แสดงว่ายังไม่ได้รับเงินอยู่แล้ว
  • ห้ามใส่เลข 0 ซึ่งแสดงว่ามีค่าเท่ากับ 0 ในเซลล์ที่ควรเป็นช่องว่าง ซึ่งหมายถึงว่ายังไม่เคยมีค่าบันทึกไว้มาก่อน และห้ามเคาะช่องว่างเพื่อทำให้ดูว่าว่าง
  • ห้ามผสมเซลล์สูตรเข้าไปในตารางที่มีแต่ค่าคงที่ หากจำเป็นต้องมี ให้หาทางทำเครื่องหมายแสดงให้เห็นชัดหรือต้องสังเกต
  • ห้ามนำเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องมาบันทึกไว้ในตารางเดียวกัน เช่น ข้อมูลสินค้าก็ควรเป็นเรื่องของสินค้า อย่าไปเอาข้อมูลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนไปใส่ไว้ในตารางเดียวกัน
  • ห้าม Insert / Sort / Delete ถ้ารายการไหนเลิกใช้แล้วให้เพิ่มคอลัมภ์สำหรับใส่รหัสพิเศษที่บอกว่ารายการนั้นๆเลิกใช้แล้ว ส่วนรายการใหม่ให้บันทึกต่อท้ายข้างล่างสุดต่อกันไปเรื่อยๆ
  • ไม่ควรกำหนดรูปแบบ Format ที่ทำให้เห็นข้อมูลต่างไปจากค่าที่แท้จริง
  • ห้ามตามใจ อยู่ดีๆจะไปพิมพ์อะไรเล่นๆเพื่อเป็นหมายเหตุของตัวเองว่า รายการนี้ รอรับสินค้า หรือ เอาไว้กรอกข้อมูลทีหลัง

อ่านเพิ่มเติมได้จาก
https://docs.microsoft.com/en-us/office/troubleshoot/access/database-normalization-description?WT.mc_id=M365-MVP-4000499

เรื่องนี้เป็นบทเรียนของหลักสูตรหันมาใช้ Excel จัดการข้อมูลแทน Access กันดีกว่า
https://www.excelexperttraining.com/online/courses/data-management/

Office Certificate

โปรดทราบครับ ไม่อยากให้เข้าใจคลาดเคลื่อนกัน

แม้รางวัล MVP ที่ไมโครซอฟท์ได้มอบให้ผมนั้น ใช้คำว่า Office Apps & Services ก็ตาม แต่ที่ผมได้รางวัลนี้มาจาก Microsoft Excel ล้วนๆ ไม่ได้มาจาก App อื่นในกลุ่ม Office

Microsoft ได้เปลี่ยนชื่อเรียกประเภทการให้รางวัลจากการระบุ App ประเภทใดประเภทหนึ่งมาใช้คำว่า Office เมื่อหลายปีที่แล้ว เพราะบางคนเก่งหลายอย่าง

การสอบ MOS ก็เหมือนกัน ใช้คำว่า Microsoft Office Specialist แม้ว่าตอนสอบจะสอบเฉพาะ App อย่างหนึ่งเท่านั้น เว้นแต่บางคนที่เก่งทุกอย่าง จะเลือกสอบรวมทุก App ซึ่งต้องเก่งมากๆ

เวลารับสมัครใครที่สอบ MOS ผ่านต้องตรวจสอบให้ดีว่าเขาผ่าน App อะไร อย่าตีความเองว่าเก่ง App ทุกตัวของ Office ให้สังเกตบนหน้าใบรับรองจะแสดงประเภทของ App ไว้ตรงชื่อคนสอบ ถ้าเขาสุจริตใจควรแจ้งให้ชัดเจนไว้ด้วยเสมอว่าสอบผ่าน App ตัวไหนกันมา

อย่าง MVP นี้ Microsoft กำหนดด้วยไว้ว่า ถ้าใครที่ไม่ได้รับรางวัลนี้ต่อแล้ว เวลาที่นำ logo MVP ไปใช้ต้องเขียนต่อท้ายไว้เสมอว่า ได้รางวัลในปีใด ห้ามไปอวดอ้างว่าเป็น MVP เพราะรางวัลนี้มอบให้เป็นปีต่อปี

App อื่นผมใช้เป็นแค่ปลายหางช้าง ส่วนตัวช้างที่เหลือนั่นมาจาก Excel

ด้วยเหตุนี้ผมจึงแจ้งไว้เสมอว่า ผมเป็น Microsoft Excel MVP ครับ

มาแปลหมายเลขโทรศัพท์กันไหมครับ

ชวนเป็นโหรต่องแต่ง มาแปลหมายเลขโทรศัพท์กันไหมครับ

097 140 5555 ทำไมผมจึงเลือกหมายเลขนี้

แฟ้มที่ใช้สำหรับช่วยแปลตัวเลขแต่ละตัว แจกไว้ในหลักสูตร Excel VBA-Macro ครับ เปิดแฟ้มขึ้นมาแล้วจะช่วยแปลตัวเลขได้โดยไม่ต้องไปจำว่าเลขแต่ละตัวหมายถึงอะไร

เชิญสมัครเรียน ฟรี หลักสูตรเคล็ดการเพิ่มผลงาน ลดความซับซ้อนของงานด้วย Excel VBA-Macro แล้วจะได้รับแฟ้มนี้ให้ download ไปใช้ครับ

คลิกที่ลิงก์นี้เพื่อสมัคร
https://www.excelexperttraining.com/online/register/free_gift/

แฟ้มนี้เป็นโปรแกรมโหราศาสตร์ที่ใช้เป็นหลักใน”หลักสูตรดูดวงให้สนุกด้วย Excel” ช่วยในการวิเคราะห์และหาความสัมพันธ์เป็นตัวเลขและกราฟชีวิตให้อัตโนมัติ ถือเป็นโหราศาสตร์ไทยสมัยใหม่ที่พยากรณ์แบบดาวเกษตรสลับเรือนหรือย้ายเรือนได้โดยอัตโนมัติ และยังคำนวณมุมดาวแบบตะวันตกให้ด้วย

ช่วยทำให้เป็นหมอดูสมัครเล่นได้ทันทีครับ เลิกจำไปเยอะว่าอะไรเป็นอะไร เหลือแต่ต้องแปลความหมายกันต่อเอง

ดูรายละเอียดของหลักสูตรดูดวงนี้ได้จาก
https://www.excelexperttraining.com/online/courses/04-4zsuriya/

ตอนนี้ลดครึ่งราคาเหลือ 625 บาท ได้เป็นสมาชิกตลอดชีพด้วย

ใครที่อยากเห็นว่า Excel ใช้งานแบบสุดๆได้แค่ไหน แฟ้มที่แจกในหลักสูตร VBA-Macro นี่แหละครับ ลองมาเป็นโหรต่องแต่งกัน