วิธีประยุกต์ใช้ Excel ของจริงๆนั้น ... ไม่ใช่แค่นี้

🤓 ถ้าทำงาน 2 ชั่วโมงๆละ 100 บาท ต้องจ่ายเงินค่าแรง 200 บาท พอยกมาใช้ Excel คำนวณก็ต้องใช้สูตรคำนวณหาระยะเวลาก่อน ทำตามลำดับนี้

  1. 12:00 - 10:00 = 2:00
  2. พอได้ระยะเวลา 2 ชั่วโมงแล้วต้องเปลี่ยนไปใช้ Format [h]:mm เพื่อแสดงระยะเวลา (ถ้าใช้ h:mm จะใช้แสดงเวลา ไม่ใช่ระยะเวลา)
  3. นำระยะเวลา 2:00 ไปคูณด้วย 2,400 จะได้ค่าแรง 200 บาท (ตัวเลข 2,400 มาจากค่าแรงชั่วโมงละ 100 บาทคูณด้วย 24 ชั่วโมง เพื่อหาอัตราค่าแรงต่อวัน)

แต่ถ้ามาตอกบัตรเข้างานตั้งแต่ 10:00 - 14:00 น. จะหาระยะเวลาทำงาน 2 ชั่วโมงในช่วงกะ 6:00 - 12:00 น. ต้องใช้สูตรตามภาพนี้

MInMax

👉 = Max(0, Minปลาย - Maxต้น)

Minปลาย เป็นสูตร Min(12:00, 14:00) จะได้เวลา 12:00 ที่เป็นค่าน้อยกว่า
Maxต้น เป็นสูตร Max(6:00, 10:00) จะได้เวลา 10:00 ที่เป็นค่ามากกว่า
Max(0, นั้นใช้ช่วยปรับค่าที่ละกันว่าถ้าติดลบ ให้เปลี่ยนไปใช้ 0 แทน

🧐 สูตรนี้พิเศษมาก ช่วยหาระยะเวลาเข้างานได้ครบทุกแบบ ใช้แทนสูตร IF ที่ต้องซ้อนกัน 7 ชั้น ทั้งแบบตรงกะ ในกะ คร่อมหน้ากะ คร่อมหลังกะ คร่อมหน้าคร่อมหลังกะ ก่อนกะ หลังกะ

พอได้เรียนสูตรคำนวณหาระยะเวลาแล้ว อย่าเพิ่งรีบประกาศออกมาว่านี่แหละคือการประยุกต์ใช้ Excel เพราะของจริงไม่ได้ง่ายแบบนี้หรอกครับ

☝️ ของจริงเป็นยังไง ... ต้องคิดไปไกลกว่าสูตรอีกตั้งเยอะครับว่า

  1. จะออกแบบตารางเพื่อใช้คำนวณหาค่าแรงนี้ยังไงดี จะใช้ตารางเดียวเพื่อคำนวณหาค่าแรงของทุกคนไล่เรียงไปเรื่อยๆตามลำดับการทำงาน หรือ
  2. จะแยกชีทเป็นรายงานตามรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน หรือ
  3. จะแยกตารางคำนวณสำหรับคนงานแต่ละคน โดยแยกออกมาเป็นชีทละคน

ลองหลับตานึกภาพให้ดีว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้ามีพนักงาน 100 คน จะเกิดชีท 100 ชีท หรือจะเลือกให้มี 30-31 ชีทตามรายวันในแต่ละเดือน พอขึ้นเดือนใหม่จะทำยังไง ขึ้นแฟ้มใหม่อย่างนั้นเหรอ

แล้วถ้าในแต่ละวัน มีการตอกบัตรเข้างานหลายรอบ จะออกแบบตารางยังไง จะคำนวณรวบยอดของแต่ละคนทุกกะ หรือจะแยกคำนวณทีละกะดี

หันกลับมามองเรื่องเงินๆทองๆบ้าง ต้องสามารถตรวจสอบได้เสมอด้วยว่า นายก นายข นายค ได้รับค่าแรงถูกต้องไหม รับเงินไปแล้วหรือเปล่า รับเป็นเงินสดที่หน้างานหรือโอนเข้าบัญชีให้ไปใช้ ATM ถอนกันเอง แล้วหน้าตาตารางจะต้องมีอะไรเพิ่มอีก

เรื่องที่ห้ามลืมในการประยุกต์ใช้ Excel ของจริงๆ ก็คือเรื่องของคนที่จะทำหน้าที่กรอกค่าลงไป จะทำยังไงให้กรอกข้อมูลได้สะดวกที่สุด ผิดพลาดน้อยที่สุด ต้องสามารถจ่ายเงินค่าแรงได้ตามกำหนด หรือถ้าถูกร้องขอพิเศษต้องหายอดมาจ่ายได้ทันทีด้วย

ใครจะเป็นคนรับแฟ้มไปทำหน้าที่นี้บ้าง จะให้คนเดียวใช้งานหรือแยกให้เพื่อนๆช่วย แล้วความลับล่ะจะป้องกันยังไงไม่ให้ค่าแรงของแต่ละคนรั่วไหล


เดี๋ยวนี้คำว่าประยุกต์ใช้ ถูกใช้กันเกร่อไปหมด อย่างการคำนวณหาค่าแรงนี่แหละ เห็นแล้วหรือยังครับว่าเวลาสร้างงานจริงๆนั้นเป็นยังไง

ภาพนี้มาจากหลักสูตรออนไลน์ ฉลาดใช้สารพัดสูตร Excel สร้างงานอย่างมืออาชีพครับ บทเรียนที่ 34 คลิปที่ 48

ผมยกมาอวดไว้ที่ https://www.excelexperttraining.com/book/index.php/excel-articles-and-videos/excel-expert-management/scheduling-vdo

เป็นคลิปพร้อมแจกตัวอย่างให้ download หลายเรื่อง จะได้ชิมทุกรสกันครับ กว่าจะอร่อยได้นั้น พ่อครัวต้องหัวป่าจริงๆ

 

 

Related Articles

© Copyright 1999

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย

ห้ามนำข้อความหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความหรือวิดีโอหรือรูปภาพไปใช้เพื่อการค้าขาย หรือเพื่อประโยชน์ส่วนตัว

อนญาตให้นำไปใช้เพื่อสาธารณประโยชน์โดยขอให้ระบุที่มาและชื่อผู้เขียนกำกับไว้ด้วยเสมอ

ลิงก์เว็บ Excel Expert Training

เว็บสำหรับ เรียนออนไลน์

เว็บสำหรับ เรียนแบบกลุ่ม-ส่วนตัว

ติดตามข่าวสารได้จาก facebook

ถามปัญหาได้ที่ กลุ่มคนรัก Excel

และไลน์กลุ่ม Excel Expert Group

ที่อยู่และการติดต่อ

สมเกียรติ ฟุ้งเกียรติ 7/1 รามคำแหง ซอย 35 หัวหมาก บางกะปิ กทม 10240 โทร 097-140-5555, 02-718-9331

Excel@ExcelExpertTraining.com

sfk234x234