การใช้สูตร IF ในการเปลี่ยนเส้นทางการรับค่า

การสร้างสูตรลิงค์เพื่อเชื่อมโยงค่าโดยทั่วไปเป็นการเชื่อมโยงกันแบบ 1 ต่อ 1 เช่น เมื่อต้องการทำให้เซลล์ A2 มีค่าเท่ากับเซลล์ A1 ก็จะสร้างสูตร =A1 ลงไปในเซลล์ A2 ทำให้เซลล์ A2 แสดงค่าเปลี่ยนแปลงตามค่าในเซลล์ A1 ซึ่งการลิงค์แบบนี้เซลล์ A1 เรียกว่าเป็นเซลล์ต้นทาง และเซลล์ A2 เรียกว่าเป็นเซลล์ปลายทาง

แต่ถ้าเซลล์ต้นทางมีมากกว่า 1 เซลล์ เช่นกำหนดให้เซลล์ C2 และ C3 สามารถเป็นเซลล์ต้นทางได้ทั้งคู่ โดยกำหนดให้เซลล์ E3 เป็นเซลล์ปลายทางเพียงเซลล์เดียว โดยเลือกที่จะรับค่าจากเซลล์ C2 หรือ C3 ก็ได้แล้วแต่เงื่อนไขที่เรากำหนดว่าจะให้เลือกรับค่ามาจากเซลล์ใด

image150

จากภาพกำหนดให้เซลล์ E2 เป็นเซลล์สำหรับใส่ค่าเงื่อนไขลงไปว่าจะเป็นตัวอักษร A หรือ B (หรือค่าอื่นใดก็ได้) ส่วนเซลล์ E3 ซึ่งเป็นเซลล์ปลายทาง ให้สร้างสูตรต่อไปนี้

=IF( E2="A", C2, C3)

ดังนั้นเมื่อเซลล์ E2 มีค่าเป็น A จึงทำให้เซลล์ E3 รับค่า 100 มาจากเซลล์ C2 แต่ถ้าเซลล์ E2 ไม่ได้มีค่าเป็น A ก็จะทำให้เซลล์ E3 เปลี่ยนเส้นทางการรับค่า 200 มาจากเซลล์ C3 แทน

แต่ถ้ากำหนดให้มีจำนวนเซลล์ต้นทางมากมายหลายเซลล์ เช่น ตามรูปต่อไปนี้ใช้เซลล์ต้นทางถึง 14 เซลล์

image152

สูตรลิงค์เพื่อเลือกรับค่าในเซลล์ F9 จะกลายเป็นสูตรซับซ้อนมากขึ้น

=IF(E9="A",C2,IF(E9="B",C5,IF(E9="C",C8,IF(E9="D",C11,IF(E9="E",C14,IF(E9="F",C17,IF(E9="G",F2,IF(E9="H",F17,IF(E9="I",I2,IF(E9="J",I5,IF(E9="K",I8,IF(E9="L",I11,IF(E9="M",I14,I17)))))))))))))

ซึ่งเซลล์ E9 มีค่าเป็น K จึงทำให้สูตร IF ในเซลล์ F9 เลือกรับค่ามาจากเซลล์ I8

แต่ถ้าโครงสร้างตารางไม่ได้จัดให้เป็นระเบียบ แม้สูตร IF จะยังคงทำงานได้ตามเดิมก็ตาม แต่จะพบว่าการแกะสูตรเพื่อตรวจสอบความถูกต้องทำได้ยากขึ้นมาก

image154

สูตรในเซลล์ F9

=IF(E9="A",C2,IF(E9="B",I3,IF(E9="C",J11,IF(E9="D",F2,IF(E9="E",I9,IF(E9="F",J16,IF(E9="G",H14,IF(E9="H",E14,IF(E9="I",G17,IF(E9="J",H7,IF(E9="K",C8,IF(E9="L",D6,IF(E9="M",D12,C17)))))))))))))

แต่ช่วยตรวจสอบว่า แม้ว่า E9 มีค่าเท่ากับ K ทำให้เซลล์ F9 รับค่า 1100 มาจากเซลล์ C8 ได้ถูกต้องตามต้องการก็ตาม แต่ค่า 1100 ที่ได้รับมานั้น ไม่ใช่ตัวเลขของค่า K แต่เป็นของค่า X มิใช่หรือ

ตั้งแต่ Excel 2007 เป็นต้นมา ในวงเล็บของแต่ละสูตร เราสามารถซ้อนสูตรเข้าไปได้ถึง 64 สูตร (Excel 2003 และรุ่นก่อนนั้นจะซ้อนได้เพียง 7 สูตร) ซึ่งจากตัวอย่างข้างต้นน่าจะทำให้เราได้เรียนรู้ว่า ถึงแม้ว่าเราสามารถใช้สูตร IF ซ้อน IF เพื่อหาค่าที่กระจายกันอยู่ต่างที่ต่างชีทต่างแฟ้มได้ก็ตาม แต่การกระจายกันของค่านี่เอง หากกระจายอย่างขาดระเบียบ ย่อมเพิ่มความเสี่ยงที่จะหาคำตอบผิดพลาดได้โดยไม่รู้ตัว และเมื่อจะตรวจสอบแก้ไขก็จะทำให้ทำได้ยาก

ดังนั้นโปรดจำไว้ว่า ขอให้เลือกใช้สูตร IF กับปัญหาง่ายๆ แต่เมื่อปัญหาซับซ้อนมากขึ้น เราควรปรับเปลี่ยนโครงสร้างตารางหรือเลือกใช้สูตรอื่นซึ่งทำงานได้เช่นเดียวกันกับสูตร IF จะเหมาะสมกว่า

Related Articles

© Copyright 1999

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย

ห้ามนำข้อความหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความหรือวิดีโอหรือรูปภาพไปใช้เพื่อการค้าขาย หรือเพื่อประโยชน์ส่วนตัว

อนญาตให้นำไปใช้เพื่อสาธารณประโยชน์โดยขอให้ระบุที่มาและชื่อผู้เขียนกำกับไว้ด้วยเสมอ

ลิงก์เว็บ Excel Expert Training

เว็บสำหรับ เรียนออนไลน์

เว็บสำหรับ เรียนแบบกลุ่ม-ส่วนตัว

ติดตามข่าวสารได้จาก facebook

ถามปัญหาได้ที่ กลุ่มคนรัก Excel

และไลน์กลุ่ม Excel Expert Group

ที่อยู่และการติดต่อ

สมเกียรติ ฟุ้งเกียรติ 7/1 รามคำแหง ซอย 35 หัวหมาก บางกะปิ กทม 10240 โทร 097-140-5555, 02-718-9331

Excel@ExcelExpertTraining.com

sfk234x234